“ประวัติศาสตร์ไม่อาจลืมเลือนได้”

“หมุดคณะราษฎร” ซึ่งเป็นหมุดกลมสีทองเหลือง ฝังลงบนพื้น กลางถนน ระหว่างฐานของพระบรมรูปทรงม้าและประตูทางเข้า สนามเสือป่าหายไป อยากชวนท่านผู้รักในประวัติศาสตร์มาเยี่ยมเยือนพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย เพื่อดูหมุดคณะราษฎร (จำลอง) ที่จัดแสดงไว้ในห้องเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475

“หยาดเหงื่อแรงงาน ประวัติศาสตร์แห่งการสร้างสรรค์”

ประวัติศาสตร์แห่งการพัฒนาประเทศของสังคมไทยตั้งแต่ยุคไพร่-ทาส แรงงานรับจ้างรุ่นแรก ยุคของการปฏิรูปประเทศ การผลักดันด้านสิทธิสวัสดิการต่างๆ แม้ว่าจะเกิดยุคมืดการริดรอนสิทธิต่างๆ ถึงการคุกคามเสรีภาพ และวิกฤติต่างๆทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ ผู้ใช้แรงงานมีส่วนสำคัญในการมีส่วนร่วมในการพัฒนาบ้านเมือง ระบอบประชาธิปไตย และสวัสดิการทางสังคม

แม่ฉันคือแรงงาน

หลายคนอาจไม่ทราบถึงที่มาของการลาคลอด 90 วัน ทางพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย จัดแสดงนิทรรศการมุมลาคลอด 90 วันไว้เพื่อให้ความรู้กับผู้ที่มาเยี่ยมชมได้เรียนรู้ถึงสิทธิดังกล่าว โดยนำเสนอผ่านป้ายรณรงค์ “90วันเพื่อลูกนั้นกินนมแม่”

2 ก.ค. รำลึก ศุภชัย ศรีสติ ผู้นำที่ไม่ตายจากแรงงาน

“อายุของข้าพเจ้าครบวันเกิดปีที่ 34 ในวันนี้ และอีกไม่กี่ชั่วโมงข้างหน้านี้ วาระสุดท้ายกำลังจะมาถึงแล้ว แต่ประวัติศาสตร์จะต้องจารึกไว้ในวันข้างหน้าอย่างแน่นอน”

รำลึก 24 มิถุนาประชาธิปไตย ที่พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย

พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย กับการเปลี่ยนแปลงความปกครอง บทบาทกรรมกรอยู่ตรงไหน ความเกี่ยวข้องของพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย กับการเปลี่ยนแปลงการปกครองนั้นไม่ได้หมายความว่าเพื่อกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่เป็นความเปลี่ยนของประเทศที่มีความเกี่ยวกับประชาชนทุกชนชั้นรวมถึงคนงานด้วย

อารมณ์ พงศ์พงัน ปัญญาชนของขบวนการแรงงาน

ครบรอบ 36 ปี แห่งความสูญเสียผู้นำแรงงาน ที่ถือว่าเป็นปัญญาชนของขบวนการแรงงานอย่าง คุณอารมณ์ พงศ์พงัน ไปอย่างไม่มีวันหวนกลับเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2523 ด้วยวัยเพียง 34 ปีภายใต้มุมมอง “เผด็จการนั้นไม่ว่าจะมาในรูปแบบใด ก็จะไม่สามารถดำรงอำนาจอยู่ในสังคมนี้ได้นาน” และมองความขัดแย้งว่า “ผมอยากร้องตะโกนให้ก้องไปทั้งประเทศนี้ว่า ทำไมเราไม่พัฒนาความขัดแย้งนั้นให้เปลี่ยนรูปแบบจากในแง่การทำลายมาเป็นรูปแบบแห่งการสร้างสรรค์ เราต้องเข่นฆ่ากันด้วยหรือ?”

ทนง โพธิอ่าน : คนกล้าของขบวนการแรงงานไทย

วันนี้(19มิถุนายน2559)ครบรอบ 25 ปีการหายตัวไปของทนง โพธิอ่าน ผู้นำแรงงาน ซึ่งทางพิพิธภัณฑ์แรงงานไทยได้จัดแสดงเรื่องราวของทนง โพธิอ่าน ไว้ภายในเพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้รำลึกถึงคุณูปราการ การต่อสู้กับความไม่เป็นธรรมกับอำนาจรัฐแบบไม่สะทกสะท้าน ด้วยจิตรคารวะ และขอนำบทความของอาจารย์ ศักดินา ฉัตรกุล ณ อยุธยา นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์แรงงานมานำเสนอ

อนุสรณ์เตือนใจความปลอดภัยในการทำงาน

10 พ.ค.59 ครบ 23 ปี ไฟไหม้โรงงานผลิตตุ๊กตาเคเดอร์ แรงงานยังถามหาความปลอดภัยในการทำงาน หลังต้องสูญเสียชีวิตคนงานถึง 188 คน บาดเจ็บพิการ 469 คน ชมนิทรรศการและร่วมรำลึกกับ “อนุสรณ์เตือนใจความปลอดภัยในการทำงาน”ที่นี่พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย

จะเข้คู่ใจของ จิตร ภูมิศักดิ์ อยู่ที่พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย

ขอมอบจะเข้และภาพถ่ายของน้องจิตร ภูมิศักดิ์ ให้พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย

ภิรมย์ ภูมิศักดิ์
3 ธันวาคม 2546
เมื่อพิพิธภัณฑ์แรงงานไทยถูกก่อตั้งขึ้น ที่ถนนนิคมรถไฟมักกะสัน กรุงเทพฯ ในอาคารที่เคยเป็นสถานีตำรวจรถไฟ นามของจิตร ภูมิศักดิ์ จึงได้รับการยกย่องไว้เป็นห้องหนึ่งในพิพิธภัณฑ์

1 2