ห้อง 2 : กุลีจีน : Chinese Coolies

ห้องแรงงานจีน

ห้องจัดแสดง 2  กุลีจีน : แรงงานรับจ้างรุ่นแรกของสังคมไทย

ในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น เป็นช่วงเปลี่ยนผ่านจากสังคมศักดินาสู่ระบบทุนนิยม ชาวสยามยังเป็นแรงงานบังคับในระบบไพร่ ไม่มีอิสระที่จะไปรับจ้าง จึงมีการใช้แรงงานจีน หรือ กุลีจีน ซึ่งเป็นแรงงานต่างชาติ แรงงานจีนถือเป็นแรงงานรับจ้างรุ่นแรกๆในการทำงานบุกเบิกสังคมไทย โดยต้องมีการผูกปี้ครั่งที่ข้อมือเป็นสัญลักษณ์การเสียภาษีให้รัฐไทยราวปีละ 2 บาท ก็จะมีอิสระในการเดินทางและทำงานรับจ้าง แรงงานจีนขยันขันแข็ง ทำงานหลากหลายประเภท เช่น เป็นกุลีลากรถ ทำงานขุดคลอง อู่ต่อเรือ เป็นกลาสีเรือ ทำงานก่อสร้าง สร้างถนน เป็นคนงานในโรงงานน้ำตาล โรงสี โรงเลื่อย คนงานเหมืองแร่ โดยได้ค่าตอบแทนน้อยเมื่อเทียบกับงานที่หนักมาก ขาดหลักประกันในการทำงาน จำนวนมากต้องกลายเป็นคนติดอบายมุข สูบฝิ่น เพราะรู้สึกสบายหายปวดเมื่อย และยังมีการรวมกลุ่มจัดตั้งองค์กรที่เรียกว่า “อั้งยี่”  ขึ้นมา และอาศัยองค์กรประเภทนี้ดูแลพิทักษ์ผลประโยชน์ แต่ “อั้งยี่” ก็กลายเป็นสิ่งต้องห้าม เป็นสมาคมลับ เมื่อมีการออกกฎหมายอั้งยี่ขึ้นมาในปี 2440


Room 2  Chinese Coolies : the First Generation of Wage Workers

The story of Chinese coolies who were the predecessors of today’s wage-earners. Bound by serfdom, Thai subjects were not allowed to travel at will, leaving a demand gap for paid labour to be filled by migrant workers from China. They were industrious, efficient and they laboured in difficult jobs.They established various organisations of their own. These were called ‘Angyii’ or ‘Secret Societies’. These were not labour organisations in the modern sense of the term. However, Chinese coolies did rely upon these organisations to look after and protect their interests.