ห้องสงครามโลกกับสงครามเย็น

ห้องจัดแสดง 5  จากสงครามโลกสู่สงครามเย็น

แม้นโยบายของคณะราษฎรที่เปิดกว้างในเรื่องสิทธิเสรีภาพ จะทำให้เกิดองค์กรแรงงานที่เข้มแข็งอย่าง สมาคมสหอาชีวะกรรมกรแห่งประเทศไทย ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และต่อมาก็มี กรรมกร 16 หน่วย ที่ผลักดันให้เกิด พระราชบัญญัติกฎหมายแรงงานฉบับแรก เมื่อ พ.ศ.2499  แต่อิทธิพลของรัฐบาลเผด็จการทหารในช่วงเวลาต่อมา ก็ทำให้สิทธิเสรีภาพของคนงานถูกริดรอนอย่างหนัก

ยุคของสงครามเย็น อเมริกาซึ่งเป็นผู้นำแห่งค่ายทุนนิยมมีนโยบายต่อต้านคอมมิวนิสต์  และสนับสนุนให้เกิดระบอบเผด็จการทหาร สฤษดิ์-ถนอม-ประภาส ขึ้น นับแต่รัฐประหาร 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 เป็นต้นมา ถือเป็นยุคมืดของแผ่นดิน รัฐบาลกำจัดกวาดล้างผู้มีความคิดเห็นต่าง  นักการเมือง นักหนังสือพิมพ์ ปัญญาชน และผู้นำแรงงานจำนวนมากถูกจับกุมคุมขัง ศุภชัย ศรีสติ  ผู้นำแรงงานของกรรมกร 16 หน่วยถูกยิงเป้าประหารชีวิตด้วยข้อหาคอมมิวนิสต์

รัฐบาลจอมพลสฤษดิ์  ธนะรัชต์  ได้เริ่มใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2504 โดยส่งเสริมการลงทุนภาคเอกชนอย่างเต็มที่ การหนุนภาคอุตสาหกรรมในเมืองแล้วทอดทิ้งชนบททำให้เกิดการอพยพเพื่อไปหางานทำในเมือง แต่ชีวิตของผู้ใช้แรงงานกลับต้องแร้นแค้น สิทธิเสรีภาพถูกลิดรอนถูกเอารัดเอาเปรียบ ช่องว่างระหว่างชนบทกับเมือง คนจนกับคนรวย ถูกขยายออกไป


Room 5 From World War to the cold War

Find out about labour and society during the period of Second World War. Learn about the leadership of Field Marshall Phibun Songkhram. Look at plans of the Death Railway and acquire  an understanding of the experiences of labour during the period of the Cold War and authoritarian dictatorship.

After the end of World War II, Thailand’s labour movement re-emerged. The Association of United Workers of Thailand’ (AUWT), Linking with the Left faction within the government, labour problems became the focus of genuine attention. However, after the 1947 coup, the AUWT was suppressed.