ห้อง 7 : จาก 14 ตุลาฯ ถึง วิกฤติเศรษฐกิจ : From October Up Rising to the Economic Crisis

ห้องจาก 14 ตุลาฯถึงวิกฤติเศรษฐกิจ

ห้องจัดแสดง 7  จาก 14 ตุลาฯ ถึง วิกฤติเศรษฐกิจ

14 ตุลา 2516 ขบวนการนักศึกษา ประชาชน ลุกขึ้นต่อสู้เผด็จการ จนเกิดประชาธิปไตยขึ้นอีกครั้งในสังคมไทย สิทธิของแรงงานกลับคืนมา มีการจัดตั้งสหภาพแรงงานขึ้นมากมายเพื่อเป็นปากเป็นเสียงของผู้ใช้แรงงาน

6 ตุลา 2519 สิทธิเสรีภาพของประชาชนถูกลิดรอน การคุกคามถึงชีวิตทำให้นักศึกษา ประชาชน รวมทั้งผู้ใช้แรงงานจำนวนมากมายต้องหลบหนีเข้าป่าเพื่อต่อสู้กับอำนาจเผด็จการ

23 กุมภาพันธ์พ.ศ.2534 การรัฐประหารของคณะ รสช.ได้แยกสลายขบวนการแรงงานภาครัฐวิสาหกิจกับเอกชน ทนง  โพธิ์อ่าน ผู้นำแรงงานที่ลุกขึ้นมาต่อต้านเผด็จการทหารหายสาบสูญไป  ต่อมาก็เกิดเหตุการณ์ พฤษภาทมิฬ 2535 ที่มีการเข่นฆ่าปราบปรามประชาชน แต่เผด็จการก็ถูกขับไล่ออกไป

วิกฤติเศรษฐกิจ “ต้มยำกุ้ง” ที่เกิดขึ้นกับประเทศไทยเมื่อปี 2540 ทำให้เกิดการเลิกจ้างคนงานมากมาย และมีการเร่งแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ต่อมาวิกฤต “แฮมเบอร์เกอร์”ที่สหรัฐอเมริกาช่วงปี 2550   ได้ส่งผลกระทบที่ผลักคนงานไทยจำนวนมากให้กลายไปเป็นแรงงานนอกระบบที่กฎหมายไม่ให้การคุ้มครองดูแล

การขาดเอกภาพในขบวนการแรงงาน ทำให้ขบวนการแรงงานไทยขาดความเข้มแข็ง ขาดอำนาจต่อรอง จึงทำให้กระทั่งถึงทุกวันนี้ ชีวิตของผู้ใช้แรงงานไทยส่วนใหญ่ก็ยังอยู่ในสภาพที่ขาดความมั่นคงในการทำงาน ค่าจ้าง สวัสดิการต่ำ และทำงานในสภาพที่ไม่ปลอดภัย

ผู้ใช้แรงงานยังต้องอยู่ในสภาพของผู้ที่ถูกสังคมลืมเลือนตลอดมา


Room 7  From October Up Rising to the Economic Crisis

The events of 14 October 1973 restored democracy to Thailand. The Thai labour movement once again flourished.

After the massacre at Thammasat University on 6 October 1976, darkness descended over Thailand yet again. Every time that dictatorship emerges, the destruction of labour unity always follows.

when the National Peacekeeping Council (NPKC) seized power in February 1991.

But what they actually did was to split the power of labour by destroying state enterprise unions and dividing public and private sector workers. The aim was simply to destroy the labour movement.

Today, when the poisonous effects of the economic crisis and the power of globalisation exercise their sway over the Thai state, Thai workers are exploited and challenged by numerous problems.

A labour movement that is weak, dispersed and lacking in unity cannot represent workers. State and capital will not listen to labour’s voice when it is so fragmented.

If workers are to create the strength that will see problems resolved, then there is no other alternative but to build unity.