“หยาดเหงื่อแรงงาน ประวัติศาสตร์แห่งการสร้างสรรค์”

IMG_6786

ประวัติศาสตร์แห่งการพัฒนาประเทศของสังคมไทยตั้งแต่ยุคไพร่-ทาส ถือเป็นกลุ่มคนที่มีศักดิ์ฐานะต่ำสุดในสังคมไทยโบราณ ตามกฎหมายกำหนดศักดินาสมัยอยุธยา แต่มีบทบาทเป็นฐานการผลิตทุกด้านของสังคม

ผู้หญิงอุ้มลูก

การเปิดประเทศหลังสนธิสัญญาเบาริ่ง กับอังกฤษในปี พ.ศ.2398  สยามต้องเปิดประเทศเพื่อทำการค้ากับชาติตะวันตก การผลิตเพื่อกินเพื่อใช้ได้เปลี่ยนไปสู่การผลิตเพื่อการค้าขายเสรี

แรงงานจีน แรงงานรับจ้างรุ่นแรกในการทำงานบุกเบิกอุตสาหกรรมของสังคมไทยในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น อันเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านจากสังคมศักดินาสู่ระบบทุนนิยม

แรงงานกับการปฏิรูปประเทศ เป็นยุคที่ถือว่าเป็นยุคแห่งการปฏิรูปประเทศให้ทันสมัยในหลายๆด้าน ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม

การกำเนิดสิทธิแรงงาน นับตั้งแต่การเปิดประเทศและเริ่มดำเนินการอุตสาหกรรม ต้องเผชิญการเอารัดเอาเปรียบจากนายจ้าง จนทำให้เกิดข้อขัดแย้งนำไปสู่การเผชิญหน้ากันอยู่ตลอดมา มีการประท้วงผละงานของคนงาน มีการกดดันจากองค์กรแรงงานระหว่างประเทศเพื่อให้มีกฎหมายดูแลแรงงาน จนกระทั่งเมื่อเกิด การเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชเป็นระบอบประชาธิปไตยเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475  สิทธิเสรีภาพของชนชั้นล่างได้รับการยอมรับมากขึ้น  กรรมกรจึงเริ่มมีปากมีเสียง20160624_135347

สหอาชีวะกรรมกร นโยบายของคณะราษฎรที่เปิดกว้างในเรื่องสิทธิเสรีภาพ ทำให้เกิดองค์กรแรงงานที่เข้มแข็งขึ้น  กรรมกร 16 หน่วย แม้รัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม จะพยายามแทรกแซงขบวนการกรรมกรและหนุนให้เกิด “สมาคมกรรมกรไทย” ซึ่งรัฐบาลอุปถัมภ์ แต่เจตนารมณ์ของ “สหอาชีวะกรรมกร” ที่ถูกสลายไปก็ยังถูกสืบทอดในนามของกลุ่ม “กรรมกร 16 หน่วย”

20160703_134125

ยุคมืดของสิทธิแรงงาน นับแต่รัฐประหารโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 เป็นต้นมา ถือเป็นยุคมืดของแผ่นดิน รัฐบาลกำจัดกวาดล้างผู้มีความคิดเห็นต่าง  นักการเมือง ผู้นำแรงงานจำนวนมากถูกจับกุมคุมขัง ศุภชัย ศรีสติ  ผู้นำแรงงานของกรรมกร 16 หน่วยถูกยิงเป้าประหารชีวิตด้วยข้อหาคอมมิวนิสต์

ยุคทองของขบวนการแรงงานไทย จากแรงกดดันหลายอย่างทำให้รัฐบาลเผด็จการยุคต่อมาสมัย จอมพลถนอม กิตติขจร ต้องออกประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 ในปี 2515 ที่ถือเป็นกฎหมายแรงงานและยอมให้สิทธิคนงานในการรวมตัวกันเป็น สมาคมลูกจ้าง เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516  เกิด “พลังสามประสาน” คือการทำงานร่วมกันระหว่างขบวนการแรงงาน ขบวนการนักศึกษา และขบวนการชาวไร่ชาวนา ทำให้การเคลื่อนไหว

เกิด พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ ปี 2518 กลุ่มสมาคมลูกจ้างก็เปลี่ยนเป็น กลุ่มสหภาพแรงงานแห่งประเทศไทย แกนนำสำคัญคือ ไพศาล ธวัชชัยนันท์ จากสหภาพแรงงานการไฟฟ้านครหลวง และ อารมณ์ พงศ์พงัน จากสหภาพแรงงานการประปานครหลวง มีการเคลื่อนไหวสำคัญคือ การนัดหยุดงานทั่วประเทศระหว่าง 2 – 6 มกราคม 2519 เพื่อคัดค้านการยกเลิกการจำหน่ายข้าวสารราคาถูกและให้ประกันราคาข้าวเปลือก การคัดค้านการขึ้นราคาน้ำมัน คัดค้านกฎหมายความมั่นคงที่ทำลายสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐาน

%e0%b9%84%e0%b8%9e%e0%b8%a8%e0%b8%b2%e0%b8%a5-%e0%b8%ad%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%a1%e0%b8%93%e0%b9%8c

การแยกสลายขบวนการแรงงาน 6 ตุลา 2519 สิทธิเสรีภาพของประชาชนถูกลิดรอน การคุกคามถึงชีวิตทำให้นักศึกษา ประชาชน รวมทั้งผู้ใช้แรงงานจำนวนมากมายต้องหลบหนีเข้าป่าเพื่อต่อสู้กับอำนาจเผด็จการ และขบวนการแรงงานยิ่งแตกสลาย เมื่อคณะ รสช.ทำรัฐประหารในวันที่ 23 กุมภาพันธ์พ.ศ.2534 และได้ออกกฎหมายแยกแรงงานภาครัฐวิสาหกิจออกจากภาคเอกชน  ทนง  โพธิ์อ่าน ผู้นำแรงงานที่ลุกขึ้นมาต่อต้านเผด็จการทหารหายสาบสูญไป

หลักประกันทางสังคม เพื่อให้เกิดหลักประกันที่ดีสำหรับคนทำงานทุกคน ในปี 2533 ขบวนการแรงงานก็ร่วมกับองค์กรนักศึกษาและองค์กรพัฒนาเอกชน เคลื่อนไหวเรียกร้องกฎหมายประกันสังคมจนเป็นผลสำเร็จ ในปี 2536 มีการเคลื่อนไหวเรียกร้องให้คนงานหญิงมีสิทธิ์ลาคลอดได้ 90 วันโดยได้รับค่าจ้างเต็ม ซึ่งครอบคลุมถึงข้าราชการด้วย

20160619_093315

วิกฤตแรงงานยุคโลกาภิวัตน์ วิกฤติเศรษฐกิจ ทั้งวิกฤต “ต้มยำกุ้ง” เมื่อปี 2540และวิกฤต“แฮมเบอร์เกอร์” ในช่วงปี 2550   ทำให้ภาคเอกชนเกิดการเลิกจ้างคนงานมากมาย ส่วนนโยบายแปรรูปรัฐวิสาหกิจก็ถูกเร่งรัดดำเนินการ  ซึ่งได้ส่งผลกระทบต่อผู้ใช้แรงงานจำนวนมากที่ถูกผลักให้กลายไปเป็นแรงงานนอกระบบ

หยาดเหงื่อแรงงานที่สรรค์สร้าง ประวัติศาสตร์การพัฒนาของสังคมไทยนั้น แม้จะเป็นที่ประจักษ์ชัดแล้วว่า ผู้ใช้แรงงานเข้าไปมีส่วนร่วมอย่างสำคัญในการทำให้สังคมไทยพัฒนาเจริญรุ่งเรืองมาอย่างต่อเนื่อง แต่กระทั่งถึงทุกวันนี้