ชวนผู้มีจิตศรัทธา ทอดผ้าป่าหารายได้บำรุงพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย

มูลนิธิฯจัดกิจกรรมทอดผ้าป่าฯและกิจกรรมรำลึกฯดังเช่นที่เคยปฏิบัติ ทั้งนี้เพื่อเป็นการระดมทุนสนับสนุนการดำเนินงานของพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย และเพื่อเป็นการเชิดชูเกียรติผู้ที่ทำคุณประโยชน์และวางรากฐานให้แก่ขบวนการแรงงานไทย โดยกำหนดจัดในวันอาทิตย์ที่ 18 ตุลาคม 2563 ณ พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ถนนนิคมมักกะสัน กรุงเทพฯ

บันทึกประวัติศาสตร์แรงงานร่วมไว้อาลัย สพรั่ง มีประดิษฐ์ หลังจากไปกะทันหัน

สพรั่ง มีประดิษฐ์  อีกหนึ่งผู้ร่วมสร้างประวัติศาสตร์ ความเป็นเอกภาพที่เกิดขึ้นได้จริง ด้วยการเป็นหนึ่งในผู้ร่วมขับขานบทเพลงสายเลือดแรงงาน ร่วมกับผู้นำแรงงานหลากหลายองค์กร เป็นบทเพลงเพื่อพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย

รำลึก 25 ปี การก่อเกิดพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย

การทำพิพิธภัณฑ์แม้จะเป็นเรื่องใหม่ ไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อน แต่ผู้นำแรงงานจากหลากหลายองค์กรด้วยความสนับสนุนจากคนในหลากหลายแวดวงได้ร่วมกันทำงานอย่างทุ่มเท ทำให้ในที่สุด 17 ตุลาคม 2536 พิพิธภัณฑ์แรงงานไทยก็ได้มีพิธีเปิดอย่างยิ่งใหญ่ และมีอายุยืนยาวกว่า 25 ปีแล้วในวันนี้ เป็นพิพิธภัณฑ์ประชาชนที่ขบวนการแรงงานเป็นเจ้าของจริง ๆ อาจกล่าวได้ว่าพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย เป็นอนุสาวรีย์แห่งชัยชนะของประชาชนต่อเผด็จการทหารรสช. แห่งแรก ที่ถูกสร้างขึ้น 

ด้านหน้าของพิพิธภัณฑ์แรงงานจะมีอนุสาวรีย์ ที่เราให้ชื่อกันว่า อนุสาวรีย์ ศักดิ์ศรีแรงงาน ซึ่งออกแบบโดยศิลปินสุรพล ปรีชาวชิระ ซึ่งเป็นรูปคนงานชายหญิง ผลักกงล้อประวัติศาสตร์ โดยใต้กงล้อมีรถถังซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของเผด็จการทหารถูกบดขยี้

พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย หารือรมว.แรงงาน เพื่อรับการสนับสนุน

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ขานรับเตรียมนัดวันลงพื้นที่เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์แรงงานไทยในเดือนมิถุนายนนี้ ขอให้พิพิธภัณฑ์แรงงานจัดทำแผนการทำงานที่ชัดเจนเพื่อประกอบการพิจารณาสนับสนุนช่วยเหลือ

แรงงานอยู่ตรงไหนในประวัติศาสตร์ชาติไทย

นักวิชาการ ชี้แรงงานมีประวัติศาสตร์แต่ถูกลืมเลือนไม่มีการบันทึก ในงานรำลึกถึงผู้นำแรงงาน ผู้มีคุณูปการผู้วายชน และทอดผ้าป่ารายได้ของพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย

“ประวัติศาสตร์ไม่อาจลืมเลือนได้”

“หมุดคณะราษฎร” ซึ่งเป็นหมุดกลมสีทองเหลือง ฝังลงบนพื้น กลางถนน ระหว่างฐานของพระบรมรูปทรงม้าและประตูทางเข้า สนามเสือป่าหายไป อยากชวนท่านผู้รักในประวัติศาสตร์มาเยี่ยมเยือนพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย เพื่อดูหมุดคณะราษฎร (จำลอง) ที่จัดแสดงไว้ในห้องเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475

สหภาพแรงงานไทยมีอิสระและเสรีภาพหรือไม่

Mr. Cerd Botterweck รักษาการผู้อำนวยการมูลนิธิฟรรดริค เอแบร์ท (FES) ได้แวะมาทักทายและเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์แรงงานไทยที่มักกะสัน กรุงเทพฯ พร้อมแลกเปลี่ยนเรื่องราวแรงงานในประเทศไทยหลังจากเยี่ยมชม

“หยาดเหงื่อแรงงาน ประวัติศาสตร์แห่งการสร้างสรรค์”

ประวัติศาสตร์แห่งการพัฒนาประเทศของสังคมไทยตั้งแต่ยุคไพร่-ทาส แรงงานรับจ้างรุ่นแรก ยุคของการปฏิรูปประเทศ การผลักดันด้านสิทธิสวัสดิการต่างๆ แม้ว่าจะเกิดยุคมืดการริดรอนสิทธิต่างๆ ถึงการคุกคามเสรีภาพ และวิกฤติต่างๆทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ ผู้ใช้แรงงานมีส่วนสำคัญในการมีส่วนร่วมในการพัฒนาบ้านเมือง ระบอบประชาธิปไตย และสวัสดิการทางสังคม

แม่ฉันคือแรงงาน

หลายคนอาจไม่ทราบถึงที่มาของการลาคลอด 90 วัน ทางพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย จัดแสดงนิทรรศการมุมลาคลอด 90 วันไว้เพื่อให้ความรู้กับผู้ที่มาเยี่ยมชมได้เรียนรู้ถึงสิทธิดังกล่าว โดยนำเสนอผ่านป้ายรณรงค์ “90วันเพื่อลูกนั้นกินนมแม่”