สหภาพแรงงานไทยมีอิสระและเสรีภาพหรือไม่

20170203_150441

เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2560 Mr. Cerd Botterweck (คุณแกร์ด บอทเทอร์เว็ค) รักษาการผู้อำนวยการมูลนิธิฟรรดริค เอแบร์ท (FES) ได้แวะมาทักทายและเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์แรงงานไทยที่มักกะสัน กรุงเทพฯ พร้อมกับอาสาสมัคร ซึ่งเป็นนักศึกษาฝึกงาน คือคุณ นิโค กับคุณอารินา โดยมีคุณปรีดา ศิริสวัสดิ์ และคุณวิชัย นราไพบูลย์ ผู้จัดการพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย และคุณวาสนา ลำดี อาสาสมัครพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย นำชมและร่วมแลกเปลี่ยนเรื่องราวแรงงานในประเทศไทยหลังจากเยี่ยมชม

คุณแกร์ด ได้แสดงความชื่นชมในการจัดแสดงพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ถึงการบริหารจัดการเปิดให้บริการต่อสาธารณะ รวมทั้งซักถามถึงงบประมาณที่มีการบริหารจัดการว่ามาจากที่ใดบ้างมีองค์กรไหนสนับสนุนหรือไม่ด้วยเห็นว่า ไม่ได้เก็บเงินค่าเยี่ยมชม และมีผู้เข้ามาเยี่ยมชมจำนวนเท่าไร องค์ประกอบของผู้เข้าชมคือใครบ้าง20170203_152226

คุณวิชัย ได้เล่าถึงการบริหารจัดการว่า การก่อตั้งพิพิธภัณฑ์แรงงานไทยได้รับการสนับสนุนจากทางมูลนิธิFES ในระยะแรก ซึ่งสิ่งของจัดแสดงหลายชิ้นคุณศักดินา ฉัตรกุล ณ อยุธยา ที่ช่วงนั้นทำงานอยู่ที่FES กรุณาได้จัดหาและนำมาจัดแสดง ตามที่ช่วงเยี่ยมชมแล้วคุณแกร์ดกับ คุณนิโค และคุณอารินาได้สอบถาม หรือบางส่วนก็มีบริจาคให้ด้วยเห็นว่าพิพิธภัณฑ์แรงงานไทยไม่ได้แสวงหากำไรเป็นส่วนของการจัดแสดงเพื่อการศึกษาให้ความรู้ถึงคุณค่าแรงงาน

เรื่องงบประมาณ มีการทอดผ้าป่าหารายได้ ทำโครงการหารายได้ และสหภาพแรงงานบริจาคให้เดิมคาดหวังให้องค์กรแรงงานให้การสนับสนุนเป็นรายเดือนแต่มีเพียง 5-6องค์กรที่บริจาคให้เป็นรายปีและมีลดจำนวนลงในตัวเงินอีก ซึ่งมองแล้วพิพิธภัณฑ์ฯคงอยู่ไม่ได้จึงเปิดโครงการสมาชิกพิพิธภัณฑ์ฯให้บริการด้านการจัดฝึกอบรม จัดทำสื่อสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์จดหมายข่าว รับตัดต่อวิดีทัศน์ โดยให้จ่ายเป็นปี ซึ่งคาดหวังที่ร้อยองค์กร ตอนนนี้ก้มีราว 30-40 แห่งแต่ก็ยังไม่แน่ใจว่าจะยืนยาวตลอดไปหรือไม่ ซึ่งก็ต้องคิดใหม่ว่าหากไม่ได้ตามที่หวังจะมีการจัดการอย่างไร ด้วยพิพิธภัณฑ์ฯมีคณะกรรมการบริหาร ส่วนคนที่เข้าเยี่ยมชมปีที่ผ่านมามีจำนวนราว 2,000 คน ประกอบด้วย นักท่องเที่ยวทั้งคนไทย และชาวต่างชาติ นักศึกษาที่มาดูงาน และมาศึกษาที่มาทำรายงาน ศึกษาประเด็นแรงงาน และผู้ใช้แรงงาน ซึ่งส่วนใหญ่มาเป็นสหภาพแรงงาน เป็นการศึกษาประวัติศาสตร์แรงงาน เป็นต้น

20170203_150217

ส่วนคุณนิโค และคุณอารินา ได้ขอสอบถามถึงเรื่องแนวคิดการตั้งสหภาพแรงงานของขบวนการแรงงานไทย ความเป็นอิสระ หรือเสรีภาพขององค์กรแรงงาน

ซึ่งคุณวิชัย ได้กล่าวถึงการจัดตั้งสหภาพแรงงานในประเทศไทยเป็นการาจัดตั้งตามกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ คือลูกจ้าง 10 คน สามารถจัดตั้งสหภาพแรงงานได้โดยไปจดทะเบียนที่กระทรวงแรงงาน หรือสวัสดิการแรงงานจึังหวัดต่างๆ ซึ่งประเทศไทยเป็นสหภาพแรงงานแบบ 1 สหภาพ 1 สถานประกอบการ ไม่เหมือนประเทศในแถบยุโรปที่รวมตัวแบบหนึ่งสหภาพต่อหนึ่งอุตสาหกรรม ซึ่งสหภาพแรงงานในประเทศไทยมีจำนวนองค์กรมากแต่สมาชิกนั้นน้อยมากหากนับจำนวนคนและสถานประกอบการ ซึ่งคิดเป็นเพียงร้อยละ 1 เท่านั้นของจำนวนแรงงานในสถานประกอบการ

คุณแกร์ด ได้สอบถามเรื่องเสรีภาพของสหภาพแรงงาน ว่า การบริหารจัดการองค์กรเป็นอย่างไร เมื่อต้องจดทะเบียน และอยู่ในสถานประกอบการ ความเป็นอิสระในการบริหารจัดการจะมีสหภาพจริงหรือ

คุณวิชัย ได้เล่าว่า การบริหารจัดการของสหภาพแรงงานนั้น แม้ว่าสหภาพแรงงานจะอยู่ในสถานประกอบการแต่ก็มีการบริหารจัดการที่เป็นอิสระจากนายจ้าง มีสหภาพแรงงานจำนวนมากที่มีการยื่นข้อเรียกร้องและเกิดการพิพาทแรงงาน ชุมนุมประท้วง และนายจ้างปิดงาน เลิกจ้าง ตรงนี้ทางกระทรวงแรงงานมองว่าเป็นความขัดแย้งค้อนข้างแรงงานสัมพันธ์ไม่ค่อยระหว่างนายจ้างกับสหภาพแรงงาน ซึ่งการทำงานของกระทรวงแรงงาน จะมีการประเมินเรื่องแรงงานสัมพันธ์ทุกปี โดยหากสหภาพแรงงานกับนายจ้างไม่มีประเด็นการเรียกร้องต่อรองถึงขั้นชุมนุมปิดงานกัน หรือว่าสถานประกอบการใดไม่มีสหภาพแรงงานหรือการเรียกร้องจากลูกจ้าง ไม่มีความขัดแย้ง ทางกระทรวงมีการมอบรางวัลย์แรงงานสัมพันธ์ดิเด่นให้ ซึ่งอาจมองได้ว่าหากองค์กรแรงงานที่เรียกร้อง มีการชุมนุมเกิดข้อพิพาทแรงงานเป็นองค์กรแรงงานทั้งนายจ้าง ลูกที่ไม่ใช้แรงงานสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน

คุณแกร์ด คุณนิโค และคุณอารินา มองประเด็นนี้ว่า น่าเป็นห่วงเรื่องเสรีภาพ และอิสระในการบริหารจัดการองค์กรสหภาพแรงงาน ซึ่งเรื่องมุมมองด้านแรงงานสัมพันธ์มีผลบวกและลบกับองค์กรแรงงานและการรวมตัว