แม่ฉันคือแรงงาน

20160812_150708นมแม่

แม่หลายคนอาจไม่ทราบถึงที่มาของสิทธิการลาคลอด 90 วัน ทางพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย จัดแสดงนิทรรศการมุมลาคลอด 90 วันไว้เพื่อให้ความรู้กับผู้ที่มาเยี่ยมชมได้เรียนรู้ถึงสิทธิดังกล่าว โดยนำเสนอผ่านป้ายรณรงค์ “90วันเพื่อลูกนั้นกินนมแม่

เนื่องในวันแม่แห่งชาติ 12 สิงหาคม 2559 ปีนี้ ทางพิพิธภัณฑ์แรงงานไทยของร่วมสดุดีความดีของแม่ที่เป็นผู้ใช้แรงงาน ที่ต้องทนทุกข์ยากในการอุ้มท้องลูกชาย ลูกหญิง และเลี้ยงดูมาจนเติบใหญ่ ซึ่งแรงงานหญิงหลายคนไม่ว่าจะเป็นราชการ  พนักงานทำงานในออฟฟิตตึกสูง หรือแรงงานในโรงงานอุตสาหกรรม คงได้มีโอกาสในการใช้สิทธิลาคลอดบุตรเป็นระยะเวลา 90 วัน โยได้รับค่าจ้างจากนายจ้าง 45 วัน และ ประกันสังคม 45 วัน ซึ่งจากเดิมกำหนดให้สิทธิลาคลอดได้เพียง 30 วัน โดยได้รับค่าจ้าง หากต้องการลาเพิ่มสามารถลาได้อีก 30 วัน แต่จะไม่ได้รับค่าจ้าง

การที่แม่แรงงานได้สิทธิลาคลอด 90 วันนั้น เพื่อให้น้ำนมที่มีคุณค่าแก่บุตร เนื่องจากมีการงานวิจัยที่กล่าวถึงการให้นมบุตรเพื่อให้เกิดภูมิคุ้มกันมีความแข็งแรงอยู่ในระยะเวลา 90 วัน ได้อยู่ใกล้ชิดกับลูก และถือว่าได้พักเพื่อดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง เพราะว่าหลังคลอดร่างกาย แผลที่เกิดจากการคลอดบุตร มดลูกของแม่ต้องได้รับการดูแล

แม่หลายคนอาจไม่ทราบถึงที่มาของสิทธิการลาคลอด 90 วัน ทางพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย จัดแสดงนิทรรศการมุมลาคลอด 90 วันไว้เพื่อให้ความรู้กับผู้ที่มาเยี่ยมชมได้เรียนรู้ถึงสิทธิดังกล่าว โดยนำเสนอผ่านป้ายรณรงค์ “90วันเพื่อลูกนั้นกินนมแม่” โดยที่มาของสิทธิการลาคลอด 90 วันนั้น มาจากเครือข่ายของกลุ่มแรงงานหญิงจากกลุ่มสหภาพแรงงาน สหพันธ์แรงงาน สภาองค์การลูกจ้าง นักวิชาการ และองค์กรพัฒนาเอกชนหลากหลายองค์กร ตั้งเป็นคณะกรรมการรณรงค์ลาคลอด 90 วัน ออกมาเคลื่อนไหวทั้งด้านความรู้ และเคลื่อนไหวรณรงค์ เริ่มขึ้นในปี 2536 เพื่อผลักดันให้แก้ไขกฎหมายการลาคลอด 60 วันเป็นลาคลอด 90 วันโดยให้ได้รับค่าจ้าง และทางกระทรวงมหาดไทยได้ประกาศ เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ให้มีผลบังคับใช้ 1 พฤษภาคม 2536 ให้ลูกจ้างมีสิทธิลาคลอด 90 วัน โยให้นายจ้างจ่ายค่าจ้าง 45 วัน ส่วนอีก 45 วันให้ลูกจ้างรับค่าจ้างจากกองทุนประกันสังคม ปี 2538 ทางสำนักงานประกันสังคมได้แก้ไขกฎหมายประกันสังคมเพื่อให้ลูกจ้างผู้ประกันตนที่ลาคลอดมารับค่าจ้างอีก 45 วันที่กองทุนประกันสังคม ทั้งนี้ในส่วนของข้าราชการและรัฐวิสาหกิจซึ่งได้ลาคลอด 90 วันเช่นกันโดยได้ค่าจ้างเต็ม