รำลึก 24 มิถุนาประชาธิปไตย ที่พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย

2475

พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย กับการเปลี่ยนแปลงความปกครอง บทบาทกรรมกรอยู่ตรงไหน

ความเกี่ยวข้องของพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย กับการเปลี่ยนแปลงการปกครองนั้นไม่ได้หมายความว่าเพื่อกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่เป็นความเปลี่ยนของประเทศที่มีความเกี่ยวกับประชาชนทุกชนชั้นรวมถึงคนงานด้วย เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองก็นำมาซึ่ง“หลัก 6 ประการของคณะราษฎรซึ่งสรุปคำใจความหลักได้ว่า เอกราช ความปลอดภัย การเศรษฐกิจ สิทธิเสมอภาค เสรีภาพ และการศึกษา เป็นแนวทางในการปกครองสืบต่อกันมา ทางพิพิธภัณฑ์แรงงานเคยได้มีการจัดทัวร์ประวัติศาสตร์เพื่อรำลึกถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2540 และยังมีการจัดแสดงเรื่องการเปลี่ยนแปลงการปกครองในห้อง 2475 ไว้ในห้องที่ 4 ภายในอาคารพิพิธภัณฑ์ฯ เพื่อเป็นการกล่าวถึงคุณูปราการนำมาซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่ส่งผลให้มีการดูแลชีวิตคนงานในยุคนั้น และ 2476 ยังก่อเกิดการรวมตัวของกรรมกรรถรางแห่งสยามที่มาทำหน้าที่ทั้งด้านสิทธิแรงงาน และการเมืองด้วย

กรรมกรเข้าร่วมการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475[i]

สังศิต เล่าว่า ถวัติได้มีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 เพราะเขาเป็นผู้นำของสมาคมรถรางที่โดดเด่นที่สุด โดยนำกรรมการรถรางไปเป็นกำลังพื้นฐานส่วนหนึ่งในการสนับสนุนให้ “คณะราษฎร” เมื่อวันที่ 24 มิ.ย. 2475

20160624_135347

เมื่อเกิดกบฏบวรเดช (2476) เขาอาสาส่งกรรมกรไปช่วยทหารรบ เพราะพวกเขาไม่อาจยอมให้บุคคลอื่นมาเป็นรัฐบาล “เพื่อเหยียดกรรมกรและพลเมืองประดุจทาสดังที่แล้วๆ มาได้” ทว่า พล.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นได้ขอให้กำลังกรรมกรช่วยทำหน้าที่รักษาความสงบภายในพระนครแทน และได้จัดส่งกำลังทหารออกปฏิบัติหน้าที่ในการปราบกบฏคราวนั้นจนเป็นผลสำเร็จ

ในปีเดียวกันนั้น ถวัติ และ “คณะกรรมกร” ได้นำคนงานโรงสีข้าวราว 3,000 คน นัดหยุดงานประท้วงนายจ้างที่ลดค่าแรงของคนงานขนข้าว แม้ว่าคนงานจะได้รับผลประโยชน์ของตนกลับคืนมาในท้ายที่สุด แต่ทว่าแนวคิดในการแก้ไขปัญหาสังคมระหว่าง “คณะกรรมกร” กับรัฐบาล “คณะราษฎร” ก็แตกต่างกันมากยิ่งขึ้นเป็นลำดับ

ถวัติยังได้ก่อตั้ง “สมาคมอนุกูลกรรมกร” เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่กรรมกรโดยทั่วไป ทำให้กรรมกรมาขอความช่วยเหลือเสมอ แต่เขาดำรงชีพด้วยการเขียนบทความขายและนำเงินส่วนนี้มาช่วยเหลือกรรมกร การดำรงชีวิตดังกล่าวทำให้ฐานะของครอบครัวยากจนลงเป็นลำดับ จนกระทั่งนำสมบัติทั้งของตนและภรรยาออกขายเพื่อยังชีพ และช่วยเหลือกรรมกรที่มาขอความช่วยเหลือ เขาต้องเขียนหนังสือถึงตี 4 ตี 5 ตรากตรำไม่ได้พักผ่อน เมื่อขึ้นไปทำธุระที่ จ.เพชรบูรณ์ ติดเชื้อมาลาเรีย และรักษาตัวที่โรงพยาบาลวชิระเพียง 5 วัน ก็ถึงแก่กรรม เมื่ออายุ 56 ปี ในวันที่เขาถึงแก่กรรมทั้งบ้านมีเงินเหลืออยู่เพียง 1 บาทเท่านั้น

20160624_120634

ความเป็นมา 24 มิถุนายน วันเปลี่ยนแปลงการปกครอง [ii]

เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 คณะราษฎร ได้ใช้นำทหารบก และทหารเรือ ซึ่งทั้งหมดเป็นกองกำลังในพระนคร ให้มารวมตัวกันบริเวณรอบพระที่นั่งอนันตสมาคม ประมาณ 2,000 นาย ตั้งแต่เวลาประมาณ 5 นาฬิกา โดยอ้างว่าเป็นการสวนสนาม จากนั้นให้ พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ได้อ่านประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ 1 ณ บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า

จุดมุ่งหมายในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง

คณะราษฎร มุ่งหวังที่จะสร้างระบอบประชาธิปไตย มีรัฐธรรมนูญเป็นหลักในการปกครองประเทศ โดยกำหนดไว้ 3 ประการ ดังนี้

ประการแรก เพื่อวางรากฐานประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญและปฏิเสธการสถาปนาสาธารณรัฐโดยเด็ดขาด

ประการที่สอง กำหนดการเปลี่ยนแปลงการปกครองด้วยการยึดอำนาจ เพื่อเปลี่ยนจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบบที่มีพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ ไม่ใช่การจลาจลนองเลือด ให้งดเว้นการทำทารุณใด ๆ ทั้งสิ้น

ประการที่สาม ให้ตั้งอยู่ในสัจจะ เสียสละเพื่อประเทศชาติ เว้นการหาประโยชน์สร้างตนเองโดยเด็ดขาด

20160501_093049

คณะราษฎร โดยนายปรีดี พนมยงค์ หัวหน้าฝ่ายพลเรือนได้ร่างหลัก 6 ประการ เพื่อใช้เป็นแถลงการณ์ประกาศตอนรุ่งเช้าใน วันที่ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครอง หลัก 6 ประการของคณะราษฎร มีดังนี้  [iii]

1.จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย เช่น เอกราชในการเมือง ในทางศาล ในทางเศรษฐกิจ ฯลฯ ของประเทศไว้ให้ มั่นคง

2.จะต้องรักษาความปลอดภัยในประเทศ ให้การประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลงให้มาก

3.จะต้องบำรุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลใหม่จะหางานให้ราษฎรทุกคนทำ จะวางโครงการ เศรษฐกิจแห่งชาติไม่ปล่อยให้ราษฎรอดยาก

4.จะต้องให้ราษฎรได้มีสิทธิเสมอภาคกัน

5.จะต้องให้ราษฎรได้มีเสรีภาพ มีความเป็นอิสระเมื่อเสรีภาพนี้ไม่ขัดต่อหลัก 4 ประการดังกล่าวข้างต้น

6.จะต้องให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร

จากหลัก 6 ประการข้างต้นคณะราษฎร ซึ่งมีนายปรีดี พนมยงค์ เป็นบุคคลสำคัญ ได้ทำให้เกิดการออกกฎหมายและสร้าง หลักประกันตามหลัก 6 ประการข้างต้นในหลายด้าน ซึ่งได้แก่ การร่างรัฐธรรมนูญและประกาศใช้เป็นฉบับแรกของประเทศ เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2475 และออกร่าง พ.ร.บ.การเลือกตั้งฉบับแรก พ.ศ. 2475 ฯลฯ ริเริ่มให้สิทธิแก่สตรีในการออกเสียงเลือกตั้ง และสมัคร เป็น ส.ส. และออกร่าง พ.ร.บ.จัดระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรไทย 2476 มีเนื้อหาสำคัญคือการกระจายอำนาจการ ปกครองเป็นส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น หรือการปกครองระบอบเทศบาล มีสภาเทศบาลประกอบด้วยสมาชิกที่ราษฎร เลือกตั้งขึ้นมา ทำให้ราษฎรสามารถปกครองตนเองได้อย่างแท้จริง และนายปรีดี ยังเป็นผู้นำในการแก้ไขสนธิสัญญาไม่เสมอภาคที่ รัฐบาลสยามสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ได้ทำไว้คือการเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขต และการเสียภาษีร้อยชักสาม ซึ่งทำให้เกิดการ เสียเอกราชทางเศรษฐกิจกับประเทศต่างๆ ในยุโรป ในด้านการศึกษาได้ผลักดันให้มีการก่อตั้งมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการ เมืองขึ้นเพื่อสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษาให้แก่ประชาชน

20160624_135409

การนำมาปรับใช้เพื่อปฏิรูปประเทศของคณะราษฎร[iv]

หลังจากที่คณะราษฎรได้ประกาศหลัก 6 ประการ เพื่อปรับใช้เป็นแนวทางในการปฏิรูปประเทศ ทำให้หน้าประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองไทยในช่วงนั้นมีการเปลี่ยนแปลงไปหลายด้าน คือ

ด้านอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน โดยกำหนดให้ประชาชนมีการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรโดยสภาผู้แทนราษฎรสามารถออกกฎหมายได้ เป็นต้น

ด้านเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมือง โดยกำหนดและส่งเสริมให้ประชาชนมีสิทธิเลือกตั้งและให้ประชาชนตั้งพรรคการเมืองได้เป็นครั้งแรก
ด้านวางรากฐานในเรื่องสิทธิเสรีภาพความเสมอภาคมีการเผยแพร่อุดมการณ์ประชาธิปไตยแก่ประชาชนอย่างกว้างขวาง เช่น สร้างอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย กำหนดให้มีพานวางรัฐธรรมนูญเพื่อให้ประชาชนทำความเคารพ ให้มีการท่องรัฐธรรมนูญในโรงเรียน ส่งเสริมการศึกษาแก่ประชาชนในวงกว้างซึ่งแต่เดิมการศึกษามักกระจุกแต่ในชนชั้นสูง โดยมีการตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมืองขึ้น

ด้านเศรษฐกิจ มีกระตุ้นเศรษฐกิจโดยการยกเลิกภาษีอากรที่เก็บจากชาวไร่ชาวนา เช่นยกเลิกภาษีเกลือ ภาษีอากรสวน ภาษีต้นตาลโตนด ลดภาษีเก็บเงินอากรสวนใหญ่ ส่งเสริมการจัดตั้งสหกรณ์ มีการยกเลิกสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรมกับต่างประเทศ เป็นต้น

———————————————-

[i] โพสต์ทูเดย์ ธรรมะ-จิตใจ : ถวัติ ฤทธิเดช วีรบุรุษกรรมกรที่ถูกลืม.

[ii] https://th.wikipedia.org

[iii] http://www.satit.up.ac.th

[iv] http://wiki.kpi.ac.th