17 ตุลาคม ครบรอบ 28 ปี พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย
จาก 17 ตุลาคม 2536 ถึง 17 ตุลาคม 2564 ครบรอบ 28 ปี พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ศักดิ์ศรีและความภูมิใจของผู้ใช้แรงงาน
จาก 17 ตุลาคม 2536 ถึง 17 ตุลาคม 2564 ครบรอบ 28 ปี พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ศักดิ์ศรีและความภูมิใจของผู้ใช้แรงงาน
10 พฤษภาคม 2536 28 ปีที่ผ่านมา เกิดภัยพิบัติกับคนงานอย่างร้ายแรง เมื่อเกิดไฟไหม้โรงงานตุ๊กตาเคเดอร์ มีคนงานเสียชีวิต 188 คนและบาดเจ็บกว่า 400 คน เป็นบทเรียนความหายนะราคาแพง จนเป็นเหตุให้คนงานเคลื่อนไหวผลักดัน ออกกฎหมายมาคุ้มครองความปลอดภัย นำไปสู่การจัดตั้งคณะกรรมการความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมในสถานประกอบการ , พ.ร.บ.จัดตั้งความปลอดภัยฯ และประกาศกระทรวงต่างๆที่เกี่ยวกันหลายฉบับ
พิพิธภัณฑ์แรงงานไทยได้เปิดดำเนินการอย่างเป็นทางการ เชิญเข้าเยี่ยมชมเพื่อการศึกษา เรียนรู้ประวัติศาสตร์แรงงาน คุณค่าของผู้สร้างบ้าน สร้างเมือง ฟรีไม่ค่าใช้จ่าย แต่สามารถร่วมบริจาคค่าใช้จ่ายได้
ในสถานการณ์ที่ไม่อาจรวมตัวจัดกิจกรรมได้ เพื่อเป็นการสืบทอดเจตนารมณ์วันกรรมกรสากลโดยมิให้สดุดหยุดยั้งไป พิพิธภัณฑ์แรงงานไทยจึงขอเชิญชวนพี่น้องแรงงานทุกท่านเข้าร่วมกิจกรรมออนไลน์ในวันกรรมกรสากลหรือวันแรงงาานแห่งชาตุิ 1 พฤษภาคม 2563 นี้ร่วมกัน
มูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทยกำหนดจัดงาน “25 ปี ศักดิ์ศรีแรงงาน” เนื่องในโอกาสครบรอบ 25 ปีแห่งการก่อตั้งพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ในวันอาทิตย์ที่ 21 ตุลาคม 2561 ณ ลานอาคารอเนกประสงค์ นิคมรถไฟ กม.11 เขตจตุจักร กทม. เพื่อเป็นการรำลึกถึงวันแห่งประวัติศาสตร์ที่ขบวนการแรงงานไทยได้ร่วมกันสรรค์สร้างสถานที่สำคัญอันแสดงถึงคุณค่าและศักดิ์ศรีของผู้ใช้แรงงานขึ้นมาเป็นแห่งแรกในประเทศไทย
สิทธิพื้นฐานของคนงาน ที่เรียกว่า “สิทธิ เสรีภาพขั้นพื้นฐาน” ที่ได้มานั้นเกิดการเรียกร้องกันมาไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการทำงานต้องทำงาน 8 ชั่วโมง พักผ่อน 8 ชั่วโมง และศึกษาหาความรู้ 8 ชั่วโมง ซึ่งเกิดขึ้นจากการที่คนงานต้องทำงานหนัก ถูกเอารัดเอาเปรียบทั้งค่าจ้าง และสวัสดิการที่ควรได้รับ จากการแบ่งปันจากนายจ้างเยี่ยงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ จึงได้มีการเรียกร้องให้เกิดระบบสามแปด และคนทำงานหนึ่งคนต้องเลี้ยงคนในครอบครัวได้อย่างหน้อยสามคน
“อายุของข้าพเจ้าครบวันเกิดปีที่ 34 ในวันนี้ และอีกไม่กี่ชั่วโมงข้างหน้านี้ วาระสุดท้ายกำลังจะมาถึงแล้ว แต่ประวัติศาสตร์จะต้องจารึกไว้ในวันข้างหน้าอย่างแน่นอน”
รำลึกผู้นำสืบสานอุดมการณ์
พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย กับการเปลี่ยนแปลงความปกครอง บทบาทกรรมกรอยู่ตรงไหน ความเกี่ยวข้องของพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย กับการเปลี่ยนแปลงการปกครองนั้นไม่ได้หมายความว่าเพื่อกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่เป็นความเปลี่ยนของประเทศที่มีความเกี่ยวกับประชาชนทุกชนชั้นรวมถึงคนงานด้วย
ครบรอบ 36 ปี แห่งความสูญเสียผู้นำแรงงาน ที่ถือว่าเป็นปัญญาชนของขบวนการแรงงานอย่าง คุณอารมณ์ พงศ์พงัน ไปอย่างไม่มีวันหวนกลับเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2523 ด้วยวัยเพียง 34 ปีภายใต้มุมมอง “เผด็จการนั้นไม่ว่าจะมาในรูปแบบใด ก็จะไม่สามารถดำรงอำนาจอยู่ในสังคมนี้ได้นาน” และมองความขัดแย้งว่า “ผมอยากร้องตะโกนให้ก้องไปทั้งประเทศนี้ว่า ทำไมเราไม่พัฒนาความขัดแย้งนั้นให้เปลี่ยนรูปแบบจากในแง่การทำลายมาเป็นรูปแบบแห่งการสร้างสรรค์ เราต้องเข่นฆ่ากันด้วยหรือ?”