ค่าจ้าง..ทำไมแรงงานต้องยึดโรงงาน? ทำไมสำราญ คำกลั่น สาวโรงงานต้องถูกยิงตาย ใครยิง?

20160731_110800[1]

สิทธิพื้นฐานของคนงาน ที่เรียกว่า “สิทธิ เสรีภาพขั้นพื้นฐาน” ที่ได้มานั้นเกิดการเรียกร้องกันมาไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการทำงานต้องทำงาน 8 ชั่วโมง พักผ่อน 8 ชั่วโมง และศึกษาหาความรู้ 8 ชั่วโมง ซึ่งเกิดขึ้นจากการที่คนงานต้องทำงานหนัก ถูกเอารัดเอาเปรียบทั้งค่าจ้าง และสวัสดิการที่ควรได้รับ จากการแบ่งปันจากนายจ้างเยี่ยงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ จึงได้มีการเรียกร้องให้เกิดระบบสามแปด และคนทำงานหนึ่งคนต้องเลี้ยงคนในครอบครัวได้อย่างน้อยสามคน เกิดขึ้นโดยถูกกำหนดเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานไว้ แต่ประเทศไทยเปลี่ยนเป็นค่าจ้างขั้นต่ำที่เลี้ยงคนได้หนึ่งคน? ปัจจุบันคนงานไทยต้องทำงานกันคนละกี่ชั่วโมงเพื่อการยังชีพ และดูแลคนในครอบครัว ให้อยู่ได้พอควร? คำตอบคือโรงงานไหนไม่มีงานล่วงเวลา (OT) คนงานก็จะออก แสดงว่าคนงานทำงานมากกว่า 8 ชั่วโมง?

20160731_083043[1]

แต่วันวันอาทิตย์(31 ก.ค.59)นี้ สหภาพแรงงานกิจการสิ่งทอนครหลวง ได้พากรรมการ และสมาชิกมาศึกษาประวัติศาสตร์แรงงาน ที่ ‪#‎พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย‬ ‪#‎มักกะสัน‬ ซึ่งเป็นวันที่คนงานหลายคนอาจทำงานล่วงเวลาวันหยุด หรือบางคนอาจได้หยุดอยู่กับครอบครัว ในส่วนคนงานกลุ่มนี้เหลือที่จะมาศึกษาตามหาความหมายในประวัติศาสตร์แรงงานตั้งแต่ยุคไพร่-ทาส แรงงานข้ามชาติชาวจีนที่เป็นคนงานกลุ่มแรกที่ได้ค่าจ้าง ในสมัยที่คนไทยยังต้องทำงานเป็นไพร่-ทาสให้รัฐและเจ้าขุนมูลนาย ภายใต้คำถามใหญ่ “ทำไมแรงงานต้องยึดโรงงาน? ทำไม สำราญ คำกลั่น สาวโรงงานต้องถูกยิงตาย ใครยิง?” หลังจากเรียนในห้องแล้ว ทุกคนได้เดินเยี่ยมชมห้องจัดแสดง เพื่อกลับมาพูดคุยแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้ คำถามพรั่งพรูออกมามากมายภายใต้สถานการณ์เปลี่ยนผ่านยุคอุตสาหกรรมกับประวัติศาสตร์ การเรียกร้องด้านสวัสดิการค่าจ้าง สิทธิ เสรีภาพ กฎหมายแรงงานต่างๆ

คำถามที่น่าสนใจคือ ทำไมคนงานฮาร่ายึดโรงงานผลิตแล้วขายเอง ?.. ซึ่งก็ช่วยกันอธิบายถึงสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นมาจากการกดขี่ด้านค่าจ้างสวัสดิการ ซึ่งมีเล่ากันเป็นหนังเรื่องกรรมกรฮาร่า ที่พูดถึงความเป็นอยู่ที่ไม่ได้รับการดูแลต้องดื่มกินน้ำที่ก๊อกน้ำในของน้ำ เป็นต้น คนงานจึงลุกขึ้นมาเรียกร้องเรื่องสวัสดิการ เมื่อนายจ้างไม่ใส่ใจเจ้าหน้าที่รัฐเข้ามาเพื่อควบคุมจึงเป็นการต่อสู้ด้วยการนัดหยุดงาน และยึดโรงงานผลิตกางเกงยีนส์ขาย เพื่อบอกว่า ราคาการผลิตกางเกงหนึ่งตัวนั้นตกเพียงตัวละ 80 บาท แต่นายจ้างขายตัวละ 400 บาทในยุคนั้นพ.ศ. 2519

20160731_111223[1]

กรณีสำราญ คำกลั่น กรรมกรหญิงโรงงานเคลือบกระเบื้อง ที่ถูกยิงเสียชีวิต ทำไม เพราะอะไร?.. เป็นคำถามที่ผู้กลุ่มสหภาพแรงงานอ้อมน้อย-อ้อมใหญ่ คงตอบได้เพราะเป็นประวัติศาสตร์การต่อสู้ด้านค่าจ้างของคนงานในพื้นที่ ซึ่งวันที่สำราญถูกยิงเสียชีวิตเป็นการต่อสู้เรื่องค่าจ้างขั้นต่ำ จากค่าจ้าง 10 บาทให้เพิ่มเป็น 16 บาท แต่สมัยนั้นสังเวยกันด้วยชีวิตคนงานทีเดียว

ตามด้วยคำถามเด็ด คือทำไมนายจ้างโรงงานเคเดอร์ อินดัสเตรียล จึงปิดประตู ช่วงที่ไฟไหม้?.. ถามกลับเลยว่าสิ่งที่นายจ้างกลัวช่วงที่ไฟไหม้คืออะไร? น่าจะเป็นความเสียหายกับสินค้า นายจ้างมองว่า ราคาสินค้าคือตุ๊กตามี่ราคาสูงกว่าค่าจ้างแรงงาน ช่วงไฟไหม้คนงานอาจขโมยตุ๊กตาออกไป ทำให้ไม่เปิดประตู และอีกประเด็นอาจคิดว่าไฟไหม้แล้วดับได้อยู่แล้ว เพราะเคยเกิดเหตุไฟไหม้บ่อยครั้งอยู่

ถามเรื่องแรงงานจีน อดีตผู้นำคนงาน และหมายหมุด 2475 ในห้องเปลี่ยนแปลงการปกครอง เรื่องการปิดตัวของโรงงานประเภทกิจการสิ่งทอ ที่เกิดขึ้นยุคเปลี่ยนช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ ผลกระทบต่อชีวิตความมั่นคงของคนทำงาน..คำถามหาช่องทางเดินต่อในการสร้างความมั่นคง ซึ่งต้องเรียนรู้ประวัติศาสตร์ เพื่อพัฒนาหนทางข้างหน้าที่มั่นคง สหภาพต้องเป็นหลักในการถากถางทาง