17 ตุลาคม ครบรอบ 28 ปี พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย
จาก 17 ตุลาคม 2536 ถึง 17 ตุลาคม 2564 ครบรอบ 28 ปี พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ศักดิ์ศรีและความภูมิใจของผู้ใช้แรงงาน
จาก 17 ตุลาคม 2536 ถึง 17 ตุลาคม 2564 ครบรอบ 28 ปี พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ศักดิ์ศรีและความภูมิใจของผู้ใช้แรงงาน
10 พฤษภาคม 2536 28 ปีที่ผ่านมา เกิดภัยพิบัติกับคนงานอย่างร้ายแรง เมื่อเกิดไฟไหม้โรงงานตุ๊กตาเคเดอร์ มีคนงานเสียชีวิต 188 คนและบาดเจ็บกว่า 400 คน เป็นบทเรียนความหายนะราคาแพง จนเป็นเหตุให้คนงานเคลื่อนไหวผลักดัน ออกกฎหมายมาคุ้มครองความปลอดภัย นำไปสู่การจัดตั้งคณะกรรมการความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมในสถานประกอบการ , พ.ร.บ.จัดตั้งความปลอดภัยฯ และประกาศกระทรวงต่างๆที่เกี่ยวกันหลายฉบับ
มูลนิธิฯจัดกิจกรรมทอดผ้าป่าฯและกิจกรรมรำลึกฯดังเช่นที่เคยปฏิบัติ ทั้งนี้เพื่อเป็นการระดมทุนสนับสนุนการดำเนินงานของพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย และเพื่อเป็นการเชิดชูเกียรติผู้ที่ทำคุณประโยชน์และวางรากฐานให้แก่ขบวนการแรงงานไทย โดยกำหนดจัดในวันอาทิตย์ที่ 18 ตุลาคม 2563 ณ พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ถนนนิคมมักกะสัน กรุงเทพฯ
พิพิธภัณฑ์แรงงานไทยได้เปิดดำเนินการอย่างเป็นทางการ เชิญเข้าเยี่ยมชมเพื่อการศึกษา เรียนรู้ประวัติศาสตร์แรงงาน คุณค่าของผู้สร้างบ้าน สร้างเมือง ฟรีไม่ค่าใช้จ่าย แต่สามารถร่วมบริจาคค่าใช้จ่ายได้
ในสถานการณ์ที่ไม่อาจรวมตัวจัดกิจกรรมได้ เพื่อเป็นการสืบทอดเจตนารมณ์วันกรรมกรสากลโดยมิให้สดุดหยุดยั้งไป พิพิธภัณฑ์แรงงานไทยจึงขอเชิญชวนพี่น้องแรงงานทุกท่านเข้าร่วมกิจกรรมออนไลน์ในวันกรรมกรสากลหรือวันแรงงาานแห่งชาตุิ 1 พฤษภาคม 2563 นี้ร่วมกัน
สพรั่ง มีประดิษฐ์ อีกหนึ่งผู้ร่วมสร้างประวัติศาสตร์ ความเป็นเอกภาพที่เกิดขึ้นได้จริง ด้วยการเป็นหนึ่งในผู้ร่วมขับขานบทเพลงสายเลือดแรงงาน ร่วมกับผู้นำแรงงานหลากหลายองค์กร เป็นบทเพลงเพื่อพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย
การทำพิพิธภัณฑ์แม้จะเป็นเรื่องใหม่ ไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อน แต่ผู้นำแรงงานจากหลากหลายองค์กรด้วยความสนับสนุนจากคนในหลากหลายแวดวงได้ร่วมกันทำงานอย่างทุ่มเท ทำให้ในที่สุด 17 ตุลาคม 2536 พิพิธภัณฑ์แรงงานไทยก็ได้มีพิธีเปิดอย่างยิ่งใหญ่ และมีอายุยืนยาวกว่า 25 ปีแล้วในวันนี้ เป็นพิพิธภัณฑ์ประชาชนที่ขบวนการแรงงานเป็นเจ้าของจริง ๆ อาจกล่าวได้ว่าพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย เป็นอนุสาวรีย์แห่งชัยชนะของประชาชนต่อเผด็จการทหารรสช. แห่งแรก ที่ถูกสร้างขึ้น
ด้านหน้าของพิพิธภัณฑ์แรงงานจะมีอนุสาวรีย์ ที่เราให้ชื่อกันว่า อนุสาวรีย์ ศักดิ์ศรีแรงงาน ซึ่งออกแบบโดยศิลปินสุรพล ปรีชาวชิระ ซึ่งเป็นรูปคนงานชายหญิง ผลักกงล้อประวัติศาสตร์ โดยใต้กงล้อมีรถถังซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของเผด็จการทหารถูกบดขยี้
มูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทยกำหนดจัดงาน “25 ปี ศักดิ์ศรีแรงงาน” เนื่องในโอกาสครบรอบ 25 ปีแห่งการก่อตั้งพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ในวันอาทิตย์ที่ 21 ตุลาคม 2561 ณ ลานอาคารอเนกประสงค์ นิคมรถไฟ กม.11 เขตจตุจักร กทม. เพื่อเป็นการรำลึกถึงวันแห่งประวัติศาสตร์ที่ขบวนการแรงงานไทยได้ร่วมกันสรรค์สร้างสถานที่สำคัญอันแสดงถึงคุณค่าและศักดิ์ศรีของผู้ใช้แรงงานขึ้นมาเป็นแห่งแรกในประเทศไทย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ขานรับเตรียมนัดวันลงพื้นที่เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์แรงงานไทยในเดือนมิถุนายนนี้ ขอให้พิพิธภัณฑ์แรงงานจัดทำแผนการทำงานที่ชัดเจนเพื่อประกอบการพิจารณาสนับสนุนช่วยเหลือ
Mr. Cerd Botterweck รักษาการผู้อำนวยการมูลนิธิฟรรดริค เอแบร์ท (FES) ได้แวะมาทักทายและเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์แรงงานไทยที่มักกะสัน กรุงเทพฯ พร้อมแลกเปลี่ยนเรื่องราวแรงงานในประเทศไทยหลังจากเยี่ยมชม