อนุสรณ์เตือนใจความปลอดภัยในการทำงาน

10 พ.ค.59 ครบ 23 ปี ไฟไหม้โรงงานผลิตตุ๊กตาเคเดอร์ แรงงานยังถามหาความปลอดภัยในการทำงาน หลังต้องสูญเสียชีวิตคนงานถึง 188 คน บาดเจ็บพิการ 469 คน ชมนิทรรศการและร่วมรำลึกกับ “อนุสรณ์เตือนใจความปลอดภัยในการทำงาน”ที่นี่พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย

จะเข้คู่ใจของ จิตร ภูมิศักดิ์ อยู่ที่พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย

ขอมอบจะเข้และภาพถ่ายของน้องจิตร ภูมิศักดิ์ ให้พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย

ภิรมย์ ภูมิศักดิ์
3 ธันวาคม 2546
เมื่อพิพิธภัณฑ์แรงงานไทยถูกก่อตั้งขึ้น ที่ถนนนิคมรถไฟมักกะสัน กรุงเทพฯ ในอาคารที่เคยเป็นสถานีตำรวจรถไฟ นามของจิตร ภูมิศักดิ์ จึงได้รับการยกย่องไว้เป็นห้องหนึ่งในพิพิธภัณฑ์

เจตณารมณ์วันกรรมกรสากล-วันแรงงานแห่งชาติ

1 พฤษภาคม คือวันสำคัญของมวลพี่น้องผู้ใช้แรงงานทั่วโลกเป็นวันที่ผู้ใช้แรงงานทั่วโลกมาร่วมกันย้อนรำลึกถึงการต่อสู้ของพี่น้องแรงงานในอดีตที่ได้ต่อสู้เพื่อความหวังและอนาคตที่ดีกว่า วันกรรมกรสากล หรือ Mayday มีกำเนิดที่ผูกพันกับการต่อสู้เพื่อลดชั่วโมงการทำงานของผู้ใช้แรงงาน ที่สำคัญและต่อมาได้พัฒนามาสู่การกำหนดให้วันที่ 1 พฤษภาคมเป็นวันสำคัญของคนงานทั่วโลกคือการต่อสู้ของผู้ใช้แรงงานในสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้ต่อสู้ในประเด็นนี้อย่างต่อเนื่องยาวนานมาตั้งแต่ต้นคริสศัตวรรษที่ 19 เลยทีเดียว

วิศวกรหนุ่มเยอรมัน

หลังจากโทรหากันหลายครั้ง กว่าจะนัดกันรู้เรื่องว่า พิพิธภัณฑ์แรงงานไทยมาอย่างไร เปิด-ปิดเวลาไหน ก็ผ่านมาวันครึ่ง แต่เมื่อได้เจอกันก็ต่างประทับใจกันเลยทีเดียว

คุณครูจากเบลเยี่ยม

แม้อยู่ในช่วงวันสุดท้ายของเทศกาลสงกรานต์ในเมืองกรุง แต่พิพิธภัณฑ์แรงงานไทยก็ยังมีโอกาสต้อนรับคุณครูสองสามีภรรยาชาวเบลเยี่ยมที่ฝ่าสายน้ำสาดมาเยือนตอนช่วงบ่าย ในสภาพที่เสื้อเปียกเล็กน้อย

ครูนักสหภาพ

เขาเป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานครู ซึ่งเข้มแข็งมาก ที่ชิลี สหภาพแรงงานที่ใหญ่และเข้มแข็งคือ สหภาพแรงงานของคนงานก่อสร้าง คนงานภาคเกษตร คนงานเหมือง…เขาแปลกใจที่ไม่มีสหภาพแรงงานครูในประเทศไทย

นักท่องเที่ยวนานาชาติ

2-3 วันมานี้ มีชาวต่างชาติทยอยแวะเวียนมาเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์แรงงานไทยตลอด วันที่ 4 กุมภา จับคู่มากัน 3 กลุ่ม 4 ประเทศ / ญี่ปุ่น + ออสเตรเลีย และ สหรัฐ + โปแลนด์ สุภาพสตรีคือไกด์(กรรมการ)กิตติมศักดิ์ของพิพิธภัณฑ์     &&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&& ถัดมา 6 กุมภา อาจารย์สอนวาดภาพลูกครึ่งอเมริกันอังกฤษ พาภรรยามาเดินดูอย่างพินิจพิเคราะห์ เขาเล่าว่าอยู่เมืองไทยสอนอยู่ที่ภูเก็ตมานาน 5 ปี หลังไปสงกรานต์ที่ภาคเหนือจะมาสอนที่ ม.ศิลปากร กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ก็เคยมาเมืองไทยเมื่อตอนอายุ 24 ตอนนี้ก็ 65 แล้ว พูดไทยชัดหลายคำ ที่ได้ยินเต็มๆคือ โชคคคค..ดี (ออกเสียงเน้นๆแน่นๆ) ส่วนภรรยาเงยหน้าจากนิทรรศการเคเดอร์แล้วบอกว่า ชอบมาก เพราะเคยไปตระเวณพิพิธภัณฑ์หลายแห่ง ไม่มีเรื่องของคนธรรมดาที่เป็น working class เลย เธอบอกว่าที่นี่สำคัญมากต่อแรงงานและประวัติศาสตร์ของชาติ

ถกทางรอด

4 กุมภา 10 โมงเช้า แขกรับเชิญคนแรกจากสภาแรงงานเสรีมาถึงก่อนใคร นั่งกินอาหารเช้ารออยู่ข้างพิพิธภัณฑ์ ถัดจากนั้นก็ทยอยกันมา จนกระทั่งเพล ก็เริ่มประชุมอย่างเป็นทางการ

2 Japanese Visitors

เที่ยงกว่าๆ วันที่ 31 มกรา เป็นอีกครั้งที่หนังสือคู่มือท่องเที่ยวของญี่ปุ่นนำพาชาวซามูไรให้มารู้จักเรื่องราวของแรงงานในแดนสยามเมืองยิ้มมากขึ้น คราวนี้เป็น 2 หนุ่มอาชีพเอ็นจิเนียร์ แต่ลืมถามว่าทำงานทีใหน! เข้าใจว่าจะเป็นในเมืองไทยนี่แหละ เพราะเมื่อขอให้เปรียบเทียบคนงานไทยกับคนงานญี่ปุ่นหลังจากได้เดินดูพิพิธภัณฑ์จนใกล้จะจบแล้ว เขาบอกว่าคนงานญี่ปุ่นทำงานหนักเอาจริงเอาจัง และได้เงินค่าจ้างค่อนข้างสูง ส่วนคนงานไทย เขานึกหาคำพูดอยู่ครู่หนึ่ง แล้วทำท่าเอามือขวาแบคว่ำระดับเอวพร้อมกับปาดไปมา ขวา-ซ้าย…เลยไม่รู้ว่าเขาบอกอะไร แล้วก็ยังบอกว่าที่ญี่ปุ่นก็มีสหภาพแรงงาน แต่ในความคิดของเขา คิดว่าสหภาพแรงงานในญี่ปุ่นไม่เข้มแข็งนัก ทั้ง 2 คนใช้เวลาไปราวครึ่งชั่วโมง ก็จากไปหลังแสดงความเห็นในสมุดเยี่ยมว่า interested และอีกคน interesting

เพื่อนจากอาเซียน

  23 ม.ค.58 ฟ้ามืดแล้วตอนที่ผู้เยี่ยมชมจากฟิลิปปินส์ 2 คน และอินโดนีเซีย 1 คน เดินทางฝ่าการจราจลหนาแน่นของกรุงเทพฯในวันศุกร์มาถึงพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย 3 สาวอาเซียนกลุ่มนี้ นำพามาโดยคนคุ้นเคย ครูตู่ -บังอร ธรรมสอน สาวเชียงรายผู้ไปจัดตั้งสมาคมรวมไทยในฮ่องกง ทริปนี้มีล่ามช่วย 2 คน ตู่ กับ เล็ก ที่มากับลูกสาว เดินดูห้องแสดงแต่ละห้องกันอย่างละเอียดในเวลาที่จำกัดแลกเปลี่ยนกันสนุกด้วยภาษาอังกฤษแบบอาเซียนหลายสำเนียง แต่เชื่อมความเข้าใจเนื้อหาได้ลึกซึ้งด้วยเหตุว่าวัฒนธรรมใกล้เคียงกัน บางคนว่านี่บ้านฉันก็มี แล้วนั่นก็เหมือนกัน ทั้งวิถีชีวิตของคนงาน การถูกเอารัดเอาเปรียบ และการลุกขึ้นต่อสู้เรื่องสิทธิแรงงาน ที่ประหลาดมากคือ ทุกคนบอกว่าขนลุก (ทำท่ายกแขนลูบ) เมื่อเริ่มเล่าเรื่อง จิตร ภูมิศักดิ์ ให้ฟัง ซักกันไปมาจึงเข้าใจ ว่าทุกชาติภาษาล้วนมีวีรบุรุษ มีวีรชนที่เสียสละต่อสู้เพื่อนคนทุกข์ยากทั้งนั้น Kasiwen จาก ATUI – Indonesia บอกว่า ชอบที่พิพิธภัณฑ์สร้างโดยความร่วมมือของคนงาน ทำให้เป็นอิสระจากการครอบงำ ได้เรียนรู้หลายอย่าง ซึ่งเพื่อนๆก็ต่างหนุนกันว่าให้ลองไปทำพิพิธภัณฑ์แรงงานที่อินโดนีเซียบ้าง เธอไม่ได้ตอบรับ แต่สังเกตว่าครุ่นคิด ดูแววตาว่าสนใจเหมือนกัน Sonia จาก […]

1 2