เสียงจากผู้นำระดับประเทศ แด่ วันสิทธิมนุษยชนสากล 10 ธันวาคม
The Declaration of Philadelphia (ค.ศ.1944)
1. Labour is not a commodity
2. Freedom of expression and of association are essential to sustained progress
3. Poverty anywhere constitutes a danger to prosperity everywhere
4. All human beings, irrespective of race, creed or sex, have the right to pursue
both their material well-being and their spiritual development in conditions
of freedom and dignity, of economic security and equal opportunity.
คำประกาศแห่งฟิลาเดลเฟีย (พ.ศ.2487)
1. แรงงานมิใช่สินค้า
2 เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการจัดตั้งสมาคมเป็นสิ่งสำคัญสู่ความก้าวหน้าอันยั่งยืน
3. ความยากจน ณ แห่งใดแห่งหนึ่ง ย่อมเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญรุ่งเรืองในทุกแห่ง
4. มนุษย์ทุกคน โดยไม่คำนึงถึง เชื้อชาติ ความเชื่อ และเพศใด มีสิทธิที่จะแสวงหาทั้งสวัสดิภาพทาง
วัตถุ และพัฒนาการด้านจิตใจ ภายในเงื่อนไขของเสรีภาพและความมีศักดิ์ศรี ความมั่นคงทางเศรษฐกิจและโอกาสอันเท่าเทียมกัน
——————————————————–

“อิสระ หาใช่การปลดโซ่ตรวนที่ล่ามไว้ หากแต่คือการ
ดำเนินชีวิตอยู่อย่างเคารพและส่งเสริมเสรีภาพของผู้อื่น”
“For to be free is not merely to cast off ones
Chains, but to live in a way that respects and
enhances the freedom of others.”
เนลสัน แมนเดลา
อดีตประธานาธิบดีแอฟริกาใต้
—————————————-

“ใครก็ตามที่ปฏิเสธเสรีภาพของผู้อื่น
ก็ไม่คู่ควรที่จะมีเสรีภาพของตัวเอง”
“Those who deny freedom to others
deserve it not for themselves.”
อับราฮัม ลินคอล์น (Abraham Lincoln)
อดีตประธานาธิบดีสหรัฐอมริกา
——————————————–

ความดื้อรั้นกับความยืนหยัด สองอย่างนี้แตกต่างกันมาก
การพยายามบังคับให้ผู้อื่นเห็นด้วยกับทรรศนะของตนเป็นความ
ดื้อรั้นอย่างหนึ่ง ส่วนความยืนหยัดได้แก่การที่เรามีแนวความคิด
เป็นของตนเอง และปฏิบัติตนจนผู้อื่นเห็นด้วยกับแนวความคิดนั้น
ด้วยใจสมัครของเขาเอง …
มหาตมะ คานธี
—————————————————

โลกนี้ไม่ได้ถูกทำลายโดยพวกที่ทำสิ่งเลวร้ายหรอก
แต่ถูกทำลายโดยพวกที่ยืนดูพวกนั้นทำลายโดยไม่ได้ทำอะไรเลยต่างหาก …
อัลเบิร์ต ไอสไตน์
(Albert Einstein)
—————————————-

“ในสถานที่เล็กๆใกล้บ้าน เล็กและใกล้มากจนไม่สามารถมองเห็นได้ในแผนที่โลก
สถานที่เล็กๆแห่งนั้นเป็นโลกของปัจเจกบุคคล เป็นละแวกบ้านที่บุคคลอยู่อาศัย
เป็นโรงเรียนหรือวิทยาลัยที่บุคคลได้เข้าเรียน
เป็นโรงงาน ไร่นา หรือสำนักงานที่บุคคลทำงาน
สถานที่เหล่านี้เป็นที่ซึ่งบุรุษ สตรี และเด็กทุกคน
ต่างมองหาความยุติธรรมที่เท่าเทียมกันโอกาสที่เท่าเทียมกัน
ศักดิ์ศรีที่เท่าเทียมกัน โดยปราศจากการแบ่งแยก
ถ้าสิทธิเหล่านี้ไม่มีความหมายอยู่ ณ สถานที่นั้นๆ
สิทธิเหล่านี้ก็จะมีความหมายเพียงน้อยนิดในทุกแห่ง
ถ้าพลเมืองไม่ช่วยกันยืนหยัด ปกป้องสิทธิเหล่านี้ให้อยู่ใกล้บ้าน
ก็เปล่าประโยชน์ที่จะให้เกิดความก้าวหน้าในโลกที่กว้างใหญ่ขึ้น”
นางเอลีนนอร์ รูสเวลท์
ภริยาอดีตประธานาธิบดีแฟรงคลิน ดี รูสเวลท์ ของสหรัฐอเมริกา
ประธานคณะกรรมาธิการสหประชาชาติในการยกร่างปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
—————————————————–
ที่มา: วารสารสิทธิมนุษยชน ฉบับเดือนมกราคม-มิถุนายน 2558 น.31 และฉบับกรกฎาคม –ธันวาคม 2558 น.20 จัดทำโดย กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม และปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน จัดพิมพ์โดย กรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ กรกฎาคม 2551: น.3