เพื่อนจากอาเซียน

  23 ม.ค.58 ฟ้ามืดแล้วตอนที่ผู้เยี่ยมชมจากฟิลิปปินส์ 2 คน และอินโดนีเซีย 1 คน เดินทางฝ่าการจราจลหนาแน่นของกรุงเทพฯในวันศุกร์มาถึงพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย 3 สาวอาเซียนกลุ่มนี้ นำพามาโดยคนคุ้นเคย ครูตู่ -บังอร ธรรมสอน สาวเชียงรายผู้ไปจัดตั้งสมาคมรวมไทยในฮ่องกง ทริปนี้มีล่ามช่วย 2 คน ตู่ กับ เล็ก ที่มากับลูกสาว เดินดูห้องแสดงแต่ละห้องกันอย่างละเอียดในเวลาที่จำกัดแลกเปลี่ยนกันสนุกด้วยภาษาอังกฤษแบบอาเซียนหลายสำเนียง แต่เชื่อมความเข้าใจเนื้อหาได้ลึกซึ้งด้วยเหตุว่าวัฒนธรรมใกล้เคียงกัน บางคนว่านี่บ้านฉันก็มี แล้วนั่นก็เหมือนกัน ทั้งวิถีชีวิตของคนงาน การถูกเอารัดเอาเปรียบ และการลุกขึ้นต่อสู้เรื่องสิทธิแรงงาน ที่ประหลาดมากคือ ทุกคนบอกว่าขนลุก (ทำท่ายกแขนลูบ) เมื่อเริ่มเล่าเรื่อง จิตร ภูมิศักดิ์ ให้ฟัง ซักกันไปมาจึงเข้าใจ ว่าทุกชาติภาษาล้วนมีวีรบุรุษ มีวีรชนที่เสียสละต่อสู้เพื่อนคนทุกข์ยากทั้งนั้น Kasiwen จาก ATUI – Indonesia บอกว่า ชอบที่พิพิธภัณฑ์สร้างโดยความร่วมมือของคนงาน ทำให้เป็นอิสระจากการครอบงำ ได้เรียนรู้หลายอย่าง ซึ่งเพื่อนๆก็ต่างหนุนกันว่าให้ลองไปทำพิพิธภัณฑ์แรงงานที่อินโดนีเซียบ้าง เธอไม่ได้ตอบรับ แต่สังเกตว่าครุ่นคิด ดูแววตาว่าสนใจเหมือนกัน Sonia จาก […]

พนักงานค้าปลีกญี่ปุ่น

  หลังจากหญิงชาวญี่ปุ่นผู้สะเทือนใจกับสงครามโลกครั้งที่ 2 จากไปในช่วงเช้า พอคล้อยบ่าย ล่ามสาวชาวไทย 2 คนก็นำคณะพนักงานร้านค้าปลีกชาวญี่ปุ่น เป็นชายล้วน 5 คน มาเยือนพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย พร้อมอาวุธครบมือคือ ปากกาและ notebook (สมุดโน๊ต) เมื่อถามจุดประสงค์ ก็บอกว่ามาอบรมเรื่องราวเกี่ยวกับธุรกิจค้าปลีกร้านสะดวกซื้อในไทย จึงอยากรู้เรื่องราวของแรงงานไทย เพราะเคยเห็นในคู่มือท่องเที่ยวไทย(Guidebook ของญี่ปุ่น หน้า 138)  แล้วสนใจ 5 หนุ่มกระตือรือล้นในการบันทึกเรื่องราวของแรงงงานไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันลงในสมุดโน๊ตอย่างเอาจริงเอาจัง (น่าจะตามอุปนิสัยคนญี่ปุ่น) ใช้เวลาค่อนข้างนานกว่าจะผ่านแต่ละห้อง ส่วนล่ามสาวแอบบ่นว่า แปลยากมาก แต่ก็รู้อะไรเกี่ยวกับแรงงานขึ้นเยอะเลย ซึ่งก็คงไม่แปลกอะไร เพราะแม้คนไทย พูดไทยด้วยกัน และแม้เป็นคนงานไทย ก็ยังยากที่จะปะติดปะต่อทำความเข้าใจประวัติศาสตร์แรงงานไทยได้อย่างแจ่มแจ้ง แลกเปลี่ยนกันหลายเรื่องราวจนจุใจ สุดท้ายเขาก็ถามคำถามสำคัญว่า “ทำไมคนงานไทยจึงชอบเปลี่ยนงานบ่อย” พร้อมสาธยายว่า คนญี่ปุ่นมักไม่ค่อยเปลี่ยนงาน มีความรักและผูกพันกับบริษัทมาก เพราะบริษัทให้ค่าจ้างและสวัสดิการต่างๆสูงเพียงพอต่อการมีมาตรฐานคุณภาพชีวิตที่ดี ถ้าไม่เหนือบ่ากว่าแรงจริงๆก็อยู่กันจนเกษียณไปเลย เราตอบแทนคนงานไทยไปหลายเหตุผล ซึ่งก็ยังความประหลาดใจว่าทำไมแรงงานไทยถึงได้รับการดูแลแบบนี้ ไม่เว้นแม้เป็นโรงงานของชาวญี่ปุ่น (ส่วนใหญ่) ที่สุดก็ take photo ร่วมกัน ก่อนจะซาโยนาระ  さようなら ขึ้นรถตู้จากไป   …………………………………………………… […]

สงครามโลกที่สะเทือนใจ

นักท่องเที่ยวสาวจากญี่ปุ่นถึงกับหลั่งน้ำตา เมื่อถูกถามว่าประทับใจส่วนใดในการเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์แรงงานไทยมากที่สุด เธอเล่าให้ฟังด้วยเสียงเบาแผ่วปนสะอื้นว่า เป็นเรื่องราวกองทัพญี่ปุ่นกับการสร้างทางรถไฟสายมรณะที่ห้องแสดงสงครามโลกครั้งที่ 2 เธอบอกว่าคุณแม่ของเธอมักเล่าให้ฟังเสมอถึงเรื่องราวของสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่กองทัพญี่ปุ่นบุกตะลุยรบไปทั่วโลก ซึ่งขณะนั้น คุณแม่ของเธอเป็นคนงานเย็บร่มชูชีพให้กับกองทัพญี่ปุ่น เสียงเธอกระท่อนกระแท่นมากขึ้นจากแรงสะอื้น จนไม่กล้าถามต่อว่าเรื่องราวมันเป็นอย่างไรกันแน่ เธอจากไปแล้ว แต่คนที่พิพิธภัณฑ์ยังคิดกันต่อ เดาๆเอาว่าก็คงเป็นเพราะสงครามนั่นแหละ ไม่ว่าที่ใด ล้วนต้องมีความตาย ความสูญเสียพลัดพราก จนยากที่ใครที่ประสบพบเจอนั้นยากที่จะลืมเลือน แม้ผ่านช่วงเวลายาวนานสักเพียงใดก็ตาม  

แรงงานและนักศึกษา

    16 มกราคม 2558 นักเรียนจากโรงเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา ห้วยขวาง กรุงเทพฯ ร่วม 10 คน เข้ามาทำรายงานส่งคุณครู น้องฟ้าลูกหลานชาวมหาสารคามที่พ่อแม่ พามาอยู่กรุงเทพฯเล่าด้วยอารมณ์ตื่นเต้นว่า หนูเห็นสิ่งของที่จัดแสดงหลายอย่างเหมือนที่บ้านยายมีและใช้อยู่ เช่นเตารีดผ้าที่ใช้ถ่าน ที่บ้านยายก็มีคะ เคยจับมารีดเล่นๆ เครื่องปั่นไหมหนูเคยช่วยยาย มีเครื่องทอผ้าไหมอยู่ใต้ถุนบ้าน ดูแล้วคิดถึงยายที่มหาสารคาม เมื่อการพูดคุยเริ่มออกรสชาด น้องหนึ่งก็เข้ามาร่วมวงพร้อมเพื่อนอีกคน หนึ่งบอกว่า พ่อเป็นคนสุพรรณบุรี แม่เป็นคนร้อยเอ็ดคะ หนูเคยเกี่ยวข้าวด้วยละ ชอบและสนุกดีบ้านต่างจังหวัดดีอากาศดีมีความสุขคิดถึงย่า และยายคะ น้องอีกคนบอกหนูก็ลูกหลานคนนครสวรรค์ มีป่ามะม่วง ป่ากล้วยด้วย เพื่อนอีกหลายคนเริ่มสนุกเข้ามาคุยเราก็มีบ้านยาย บ้านย่าอยู่ต่างจังหวัด พร้อมแซวกันว่าเราคือคนกรุงเต็บ (เทพ) เด็กลาดพร่าว ( พร้าว)พร้อมหัวเราะอย่างสนุกสนาน… หลังจากเดินชมจนเต็มอิ่มแล้วทุกคนก็แบ่งหน้าที่ทำงาน โดยทำเป็นรูปแบบวิดีโอแนะนำพิพิธภัณฑ์ ให้แต่ละคนแนะนำห้องต่างๆ และจะนำกลับไปตัดต่อส่งคุณครู และส่งให้พิพิธภัณฑ์เผยแพร่ต่อไป.. (9ม.ค.58) กรรมการสหภาพแรงงานฟูจิทรานส์ (แห่งประเทศไทย) ได้เข้ามาเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย โดยครั้งนี้มีคุณวิชัย นราไพบูลย์ ผู้จัดการพิพิธภัณฑ์ฯต้อนรับและพาชม หลังจากเดินชมแล้ว ทุกคนก็ร่วมกันสรุปร่วมกันว่า ได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์แรงงาน […]

คณะ ผอ.เขตราชเทวี

  7 มกราคม 2558 เป็นอีกหนึ่งวันที่พิพิธภัณฑ์แรงงานไทยคึกคัก ด้วยมีแขกผู้ใหญ่จากเขตราชเทวี นำโดย ผอ.ลักษณา โรจน์ธำรง และทีมงานราว 10 คน ให้เกียรติเข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย จากการประสานงานกับทาง กทม.ที่พิพิธภัณฑ์ฯได้เคยยื่นหนังสือขอการสนับสนุนในเรื่องการปรับปรุงสถานที่และงบประมาณดำเนินงาน ด้วยพิพิธภัณฑ์เป็นแหล่งท่องเที่ยว อยู่ในเขตราชเทวี จึงได้รับเกียรติจากคณะท่าน ผอ.ศึกษาดูงานหาข้อมูลเพื่อหาแนวทางในการช่วยเหลือ หลังจากได้เข้าเยี่ยมชมแล้ว ผอ.บอกว่ารู้สึกประทับใจกับการจัดแสดงเห็นถึงความมีคุณค่าของพิพิธภัณฑ์แรงงาน ถือว่าเป็นพิพิธภัณฑ์ฯที่มีชีวิต มีคนที่ดูแลที่มีใจรักในพิพิธภัณฑ์ฯ มีความรู้ในด้านประวัติศาสตร์น่าชื่นชมมาก หากเทียบกับพิพิธภัณฑ์ฯในหลายพื้นที่ที่ได้ไปเยี่ยมชมในกรุงเทพฯคิดว่าหลายแห่งดีมีการอนุรักษ์ของเก่า และอยากให้คนเข้าไปเรียนรู้ แต่อีกหลายพื้นที่ก็จ้างเด็กๆมาคอยดู และเป็นเพียงการจัดนิทรรศการไม่มีชีวิต การที่ได้เข้ามาที่นี่ถือได้ว่าเป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณค่า มีเอกสารและสิ่งของมากมายที่ควรอนุรักษ์ไว้ มีการจัดแสดงเนื้อหาการบอกเล่าสร้างคุณค่าให้กับผู้ใช้แรงงานตั้งแต่อดีตอย่างน่าสนใจ มีคนดูแลที่เอาใจใส่ และรักงานพิพิธภัณฑ์ฯ รักษาข้าวของอย่างดี อยากบอกว่าควรมีพิพิธภัณฑ์ฯแบบนี้ในกรุงเทพฯของเรา โดยควรมีการทำโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้คนได้มาเที่ยว มาเรียนรู้ แค่อาคารที่จัดแสดงก็มีคุณค่าในตัวของมันเองควรอนุรักษ์แล้ว ผอ.ลักษณา ได้เขียนความรู้สึกในสมุดผู้เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์แรงงานไทยว่า “ขอแสดงความชื่นชมความรัก และความอุตสาหะในการสรรค์สร้างพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ที่มีคุณค่าเพื่อลูกหลานไทย ได้ระลึกถึงคุณูปการของผู้ใช้แรงงานไทยตลอดไป”  

เพื่อนต่างชาติมาเยือน

ต้นปี 2558 ที่พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ต่างชาติสนใจเยี่ยมชมคึกคัก “ช่วงต้นปี 2558 นี้ชาวต่างชาติแวะมาเยี่ยมเยือนพิพิธภัณฑ์แรงงานไทยเกือบทุกวัน เริ่มด้วย (2 ม.ค.57)ที่พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย มีแขกต่างประเทศมาเยี่ยมชมจากประเทศญี่ปุ่น 2 คน ทำงานฟรีแลนซ์ด้านการฝึกอบรมเรื่องไอที มาเมืองไทยหลายครั้ง ชอบประเทศไทย ” ดีใจที่ได้มาเยี่ยมชม และได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ของแรงงานไทย ที่ไม่สบายใจคือการจัดแสดงเรื่องแรงงานเด็กที่ถูกบังคับให้ทำงาน คิดว่าตัวเองก็เป็นแรงงานเหมือนกัน ที่ญี่ปุ่นยังไม่มีพิพิธภัณฑ์แรงงานโดยเฉพาะ ” ส่วนอีก 2 คน เป็นชาวสวีเดนเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ด้วยความสนใจ แถมยังช่วยซื้อสิ้นค้าของที่ระลึกเสื้อรณรงค์อีกด้วย วันเดี่ยวกันนักสหภาพแรงงานจากสหรัฐอเมริกา เดินมาจากพันธ์ทิพย์เห็นพิพิธภัณฑ์แรงงานไทยน่าสนใจเพราะตัวเองก็เป็นนักสหภาพแรงงานจึงอยากแวะเที่ยวพิพิธภัณฑ์ก่อนแล้วถึงจะเดินไปฟอร์จูนต่อ “ดีมาก เป็นพิพิธภัณฑ์ที่ดีมากๆ จัดแสดงได้สวยงาม ชอบมาก ” แต่พอรู้ว่ากำลังมีปัญหาเรื่องสถานที่เพราะพิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่ในพื้นที่พัฒนาของการรถไฟที่จะทำเป็นศูนย์การค้า เขาก็ทำท่าตกใจ และบอกว่า “เราต้องประท้วง”.. (3ม.ค.58) เพื่อนชาวต่างชาติจากสหรัฐอเมริกา และเยอรมันได้เข้ามาเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ฯพร้อมคำชมว่าเป็นพิพิธภัณฑ์ที่ดีและสวย การมาเที่ยวเมืองไทยครั้งนี้ พิพิธภัณฑ์แรงงานไทยเป็นพิพิธภัณฑ์ฯแห่งแรกที่ตั้งใจเข้ามาเยี่ยมชม “ รู้สึกประทับใจมากๆ ” (4ม.ค.58) นักท่องเที่ยวหญิงชาวญี่ปุ่น เดินตรงมาที่พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ท่ามกลางแสงแดดตอนเที่ยง พร้อมบอกว่าต้องการเข้าชมพิพิธภัณฑ์ฯโชว์ไกด์บุ๊คนำเที่ยวที่นำทางมาเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์ฯ “ชอบมากคะโดยเฉพาะห้องที่นำเสนอแรงงานที่สร้างทางรถไฟ และการจำลองกรณีโรงงานเคเดอร์ ประทับใจ […]