แรงงานและนักศึกษา

DSCN7149 DSCN7119

DSCN7146 DSCN7167

16 มกราคม 2558 นักเรียนจากโรงเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา ห้วยขวาง กรุงเทพฯ ร่วม 10 คน เข้ามาทำรายงานส่งคุณครู น้องฟ้าลูกหลานชาวมหาสารคามที่พ่อแม่ พามาอยู่กรุงเทพฯเล่าด้วยอารมณ์ตื่นเต้นว่า หนูเห็นสิ่งของที่จัดแสดงหลายอย่างเหมือนที่บ้านยายมีและใช้อยู่ เช่นเตารีดผ้าที่ใช้ถ่าน ที่บ้านยายก็มีคะ เคยจับมารีดเล่นๆ เครื่องปั่นไหมหนูเคยช่วยยาย มีเครื่องทอผ้าไหมอยู่ใต้ถุนบ้าน ดูแล้วคิดถึงยายที่มหาสารคาม

เมื่อการพูดคุยเริ่มออกรสชาด น้องหนึ่งก็เข้ามาร่วมวงพร้อมเพื่อนอีกคน หนึ่งบอกว่า พ่อเป็นคนสุพรรณบุรี แม่เป็นคนร้อยเอ็ดคะ หนูเคยเกี่ยวข้าวด้วยละ ชอบและสนุกดีบ้านต่างจังหวัดดีอากาศดีมีความสุขคิดถึงย่า และยายคะ น้องอีกคนบอกหนูก็ลูกหลานคนนครสวรรค์ มีป่ามะม่วง ป่ากล้วยด้วย เพื่อนอีกหลายคนเริ่มสนุกเข้ามาคุยเราก็มีบ้านยาย บ้านย่าอยู่ต่างจังหวัด พร้อมแซวกันว่าเราคือคนกรุงเต็บ (เทพ) เด็กลาดพร่าว ( พร้าว)พร้อมหัวเราะอย่างสนุกสนาน…

หลังจากเดินชมจนเต็มอิ่มแล้วทุกคนก็แบ่งหน้าที่ทำงาน โดยทำเป็นรูปแบบวิดีโอแนะนำพิพิธภัณฑ์ ให้แต่ละคนแนะนำห้องต่างๆ และจะนำกลับไปตัดต่อส่งคุณครู และส่งให้พิพิธภัณฑ์เผยแพร่ต่อไป..

10931435_1530918283852746_7473545311761984437_n

(9ม.ค.58) กรรมการสหภาพแรงงานฟูจิทรานส์ (แห่งประเทศไทย) ได้เข้ามาเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย โดยครั้งนี้มีคุณวิชัย นราไพบูลย์ ผู้จัดการพิพิธภัณฑ์ฯต้อนรับและพาชม

หลังจากเดินชมแล้ว ทุกคนก็ร่วมกันสรุปร่วมกันว่า ได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์แรงงาน ภาพของแรงงานแต่ยุคแต่ละสมัยมีความยากลำบากมากกว่าจะถึงวันนี้ วันที่เรามีสิทธิและสวัสดิการ แรงงานสมัยก่อนต่อสู้เพื่อให้ได้เสรีภาพ สิทธิจนต้องเสียเลือดเสียเนื้อ เสียชีวิต เพื่อชีวิตที่ดีของแรงงานวันนี้ แต่แม้วันนี้เหมือนมีเสรีภาพ มีสิทธิ แต่ก็แพ้นายทุนแพ้เงินที่อยู่เหนือเสรีภาพการรวมกลุ่ม การไม่มีอำนาจต่อรองของแรงงานเป็นต้น เราจะรักษาสวัสดิการที่ได้มาจากการต่อสู้ของแรงงานในอดีตได้อย่างไร

10277816_1530918627186045_1129046346653416628_n

วันนี้(10 ม.ค.58) มีนักศึกษาจากวิทยาลัยราชมงคลธัญญบุรี 6 คนมาเยี่ยมชม “พวกผมผ่านมาเห็นมีพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย เลยอยากรู้ น่าสนใจ” และโชคดีวันนี้มีไกด์กิตติมศักดิ์ซึ่งเป็นกรรมการกิตติมศักดิ์ของพิพิธภัณฑ์แรงงานไทยนี่เอง

คุณธนกิจ สาโสภา ตั้งใจจะมาประชุมกรรมการแต่พอดีมีน้องๆนักศึกษามาเยี่ยมชมก็เลยชวนให้พูดคุยด้วยเพราะจะได้รู้จากปากของผู้นำแรงงานตัวจริงเสียงจริง คุณธนกิจเล่าให้น้องๆฟังถึงการได้มาของสิทธิต่างๆของผู้ใช้แรงงานโดยยกตัวอย่างเรื่องกฎหมายประกันสังคม เรื่องค่าจ้างขั้นต่ำ ซึ่งเป็นกฎหมายที่ดูแลคุ้มครองเรื่องการเกิด แก่ เจ็บ ตาย ความเป็นอยู่ ต่างๆเหล่านี้ไม่ได้มาง่ายๆ ต้องเรียกร้องรวมพลังทั้งนั้นอนาคตอีกหน่อยไม่แน่ถ้าจบออกไป บางคนอาจเป็นลูกจ้าง บางคนอาจได้เป็นฝ่ายบุคคล เป็นช่างในโรงงาน ก็ควรที่จะต้องศึกษาเรื่องเหล่านี้ไว้ ถูกต้องแล้วที่มาที่นี่

น้องๆตั้งใจฟังอย่างจดจ่อ แถมด้วยแนะนำพิพิธภัณฑ์ฯว่ามีบางจุดที่มองไม่ค่อยเห็นอย่างเช่น หมุด 2475 ที่พึ่งซ่อมแซมเสร็จหมาดๆ “ ให้ใช้ไฟส่องมาที่หมุดก็จะดีนะครับทำให้เด่นขึ้น ”

DSCN0030DSCN0022DSCN0018