คุณครูจากเบลเยี่ยม

แม้อยู่ในช่วงวันสุดท้ายของเทศกาลสงกรานต์ในเมืองกรุง แต่พิพิธภัณฑ์แรงงานไทยก็ยังมีโอกาสต้อนรับคุณครูสองสามีภรรยาชาวเบลเยี่ยมที่ฝ่าสายน้ำสาดมาเยือนตอนช่วงบ่าย ในสภาพที่เสื้อเปียกเล็กน้อย

ครูนักสหภาพ

เขาเป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานครู ซึ่งเข้มแข็งมาก ที่ชิลี สหภาพแรงงานที่ใหญ่และเข้มแข็งคือ สหภาพแรงงานของคนงานก่อสร้าง คนงานภาคเกษตร คนงานเหมือง…เขาแปลกใจที่ไม่มีสหภาพแรงงานครูในประเทศไทย

นักท่องเที่ยวนานาชาติ

2-3 วันมานี้ มีชาวต่างชาติทยอยแวะเวียนมาเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์แรงงานไทยตลอด วันที่ 4 กุมภา จับคู่มากัน 3 กลุ่ม 4 ประเทศ / ญี่ปุ่น + ออสเตรเลีย และ สหรัฐ + โปแลนด์ สุภาพสตรีคือไกด์(กรรมการ)กิตติมศักดิ์ของพิพิธภัณฑ์     &&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&& ถัดมา 6 กุมภา อาจารย์สอนวาดภาพลูกครึ่งอเมริกันอังกฤษ พาภรรยามาเดินดูอย่างพินิจพิเคราะห์ เขาเล่าว่าอยู่เมืองไทยสอนอยู่ที่ภูเก็ตมานาน 5 ปี หลังไปสงกรานต์ที่ภาคเหนือจะมาสอนที่ ม.ศิลปากร กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ก็เคยมาเมืองไทยเมื่อตอนอายุ 24 ตอนนี้ก็ 65 แล้ว พูดไทยชัดหลายคำ ที่ได้ยินเต็มๆคือ โชคคคค..ดี (ออกเสียงเน้นๆแน่นๆ) ส่วนภรรยาเงยหน้าจากนิทรรศการเคเดอร์แล้วบอกว่า ชอบมาก เพราะเคยไปตระเวณพิพิธภัณฑ์หลายแห่ง ไม่มีเรื่องของคนธรรมดาที่เป็น working class เลย เธอบอกว่าที่นี่สำคัญมากต่อแรงงานและประวัติศาสตร์ของชาติ

2 Japanese Visitors

เที่ยงกว่าๆ วันที่ 31 มกรา เป็นอีกครั้งที่หนังสือคู่มือท่องเที่ยวของญี่ปุ่นนำพาชาวซามูไรให้มารู้จักเรื่องราวของแรงงานในแดนสยามเมืองยิ้มมากขึ้น คราวนี้เป็น 2 หนุ่มอาชีพเอ็นจิเนียร์ แต่ลืมถามว่าทำงานทีใหน! เข้าใจว่าจะเป็นในเมืองไทยนี่แหละ เพราะเมื่อขอให้เปรียบเทียบคนงานไทยกับคนงานญี่ปุ่นหลังจากได้เดินดูพิพิธภัณฑ์จนใกล้จะจบแล้ว เขาบอกว่าคนงานญี่ปุ่นทำงานหนักเอาจริงเอาจัง และได้เงินค่าจ้างค่อนข้างสูง ส่วนคนงานไทย เขานึกหาคำพูดอยู่ครู่หนึ่ง แล้วทำท่าเอามือขวาแบคว่ำระดับเอวพร้อมกับปาดไปมา ขวา-ซ้าย…เลยไม่รู้ว่าเขาบอกอะไร แล้วก็ยังบอกว่าที่ญี่ปุ่นก็มีสหภาพแรงงาน แต่ในความคิดของเขา คิดว่าสหภาพแรงงานในญี่ปุ่นไม่เข้มแข็งนัก ทั้ง 2 คนใช้เวลาไปราวครึ่งชั่วโมง ก็จากไปหลังแสดงความเห็นในสมุดเยี่ยมว่า interested และอีกคน interesting